โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.36คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, โปรแกรมการพัฒนา, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) สร้างโปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 317 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกนและการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือ คือแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80-1.00 ค่าอำนาจจำแนกสภาพปัจจุบัน 0.42-0.82 สภาพที่พึงประสงค์ 0.40-0.90 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 ระยะที่ 2 สร้างโปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สร้างโปรแกรม โดยการสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ขั้นตอนที่ 2 ประเมินโปรแกรม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือ คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวม
อยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม รองลงมาได้แก่ การสร้างบรรยากาศในองค์กรเชิงนวัตกรรม วิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม และการทำงานเป็นทีม ตามลำดับ 2) โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มี 12 แนวทาง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 2.1) หลักการและเหตุผล 2.2) วัตถุประสงค์ 2.3) เนื้อหาสาระ มี 4 หน่วย ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม 3 แนวทาง การสร้างบรรยากาศเชิงนวัตกรรม 3 แนวทาง วิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม 2 แนวทาง และการทำงานเป็นทีม 3 แนวทาง 2.4) กิจกรรมการพัฒนา มี 3 วิธี ได้แก่ การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน และการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง 2.5) การวัดและประเมินผล และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
References
กนกพิชญ์ สรรพศรี. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 6(1) : 27-38.
กนกอร สมปราชญ์. (2560). ภาวะผู้นำและภาวะผู้นำการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 12(34) : 51-66.
กุลชลี จงเจริญ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จีระศักดิ์ นามวงษ์. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(6) : 338-352.
ฐิตินันท์ นันทะศร. (2563). ภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 17(79) : 11-20.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาสน.
สาคร น้อมระวี. (2565). โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(1) : 20-33.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (2564). นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ปี 2564. มหาสารคาม : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.
สุวมิล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ailin, M. and P. Lindgren. (2008). Innovation Leadership in Danish SMEs. In Management of Innovation and Technology, ICMIT 2008. 4th IEEE International Conference. 21-24, 98-103, September.
Loader, A. (2016). Why should you show innovative leadership?. [Online]. Available : https://blog.castle.co/innovative-leadership. 2 may 2022.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.