ปลดล็อคกัญชา: กฎหมายจากอดีตถึงปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • ชัย สมรภูมิ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • เชาวณี ผิวจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อนุรัตน์ พรหมฤทธิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.19

คำสำคัญ:

กัญชา, กฎหมายเกี่ยวกับกัญชา, นโยบายกัญชาเสรี

บทคัดย่อ

          สถานะทางกฎหมายของกัญชาของไทยมีความเป็นมาและมีประเด็นสำคัญ ที่มีการถกเถียงกันมายาวนาน ประเทศไทยให้ความสำคัญกับปัญหายาเสพติด มีการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับยาเสพติดให้สอดคล้องกับสภาพปัญหารวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างสูงสุด ซึ่งกฎหมายหลัก ได้แก่ พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งกำหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 แต่กฎหมายดังกล่าวไม่ได้มีบทนิยามความหมายของคำว่ากัญชาไว้แต่อย่างใด จนกระทั่งมีการปลดล็อคการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์และการวิจัย                                 

          ผู้เขียนได้ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาของประเทศไทย ในปัจจุบันได้มีการเปิดกว้างเกี่ยวกับการใช้กัญชามากขึ้น จากการศึกษาพบว่า มีข้อกฎหมายที่อนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อการวิจัยและบำบัดรักษาโรคได้ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ทั้งยังครอบคลุมถึงกลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในการนำเอากัญชามาใช้เพื่อการค้า ประชาชนโดยทั่วไปสามารถปลูกกัญชาได้ในครัวเรือน สามารถสูบในพื้นที่ส่วนตัวได้ ห้ามสูบในที่สาธารณะ การนำมาใช้เป็นยาเพื่อการรักษาสำหรับตัวเองหรือนำไปปรุงอาหารในครัวเรือนก็ได้ แต่ต้องมีความระมัดระวัง รวมถึงกลุ่มเยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ห้ามไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับพืชชนิดนี้ ทั้งนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้พืชกัญชาอยู่ในหลายฉบับ ทั้งในระดับที่เป็นพระราชบัญญัติและในระดับที่เป็นกฎหมายลำดับรองจำนวนมาก อาจทำให้เกิดความสับสนกับประชาชนในการใช้พืชกัญชา จึงควรมีการให้ความรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนอย่างละเอียดถึงข้อกฎหมายต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องตามข้อกฎหมาย และการได้รับผลดีจากการนำพืชกัญชามาใช้ประโยชน์

Downloads

Download data is not yet available.

References

กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา พ.ศ. 2564.

กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 4 หรือในประเภท 5 พ.ศ.2559.

กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในความครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. 2559.

ธนัทเทพ เธียรประสิทธิ์. (2562). กฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมพืชกัญชา: บทเรียนจากต่างแดน. วารสารนิติพัฒน์ นิด้า ปีที่ 8 ฉบับที่ 2/2562.

นิรมัย. (2565). เคลียร์ความสับสน ตกลงกัญชาเสรีขนาดไหน!?. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://tu.ac.th/thammasat-040865-law-expert-clearing-confusion-cannabis-law. สืบค้น 1 ตุลาคม 2565.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 พ.ศ. 2539 เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2563.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ที่ให้เสพเพื่อการรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ. 2564.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565.

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522.

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562.

รัฐบาลไทย. (2565). สธ.แจงนโยบายกัญชาทางการแพทย์ ดำเนินการภายใต้กรอบอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษแห่งสหประชาชาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/57044. สืบค้น 1 ตุลาคม 2565.

รัฐบาลไทย. (2565). รัฐบาลแจง แม้ พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ยังไม่มีผลบังคับแต่มีกฎหมายควบคุมการใช้ให้เหมาะสมเพียงพอ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/59371. สืบค้น 1 ตุลาคม 2565.

อิสรภาพ มาเรือน และคณะ. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรู้และความตระหนัก ของผู้สูงอายุต่อผลกระทบของการใช้สารเสพติดประเภทกัญชา โดยใช้กลไกการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเชิงพื้นที่ ตำบลสถาน อาเภอปัว จังหวัดน่าน. ได้รับทุนสนับสนุนโดยแผนงานศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อุมากัญญ์ ไกรฤกษ์. (2563). กฎหมายเกี่ยวกับการใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-04-2023

How to Cite

สมรภูมิ ช., ผิวจันทร์ เ., & พรหมฤทธิ์ อ. (2023). ปลดล็อคกัญชา: กฎหมายจากอดีตถึงปัจจุบัน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 285–302. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.19

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)

หมวดหมู่