แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ปาณชนิน ตรีพรหม หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • ชยากานต์ เรืองสุวรรณ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.35

คำสำคัญ:

เทคโนโลยี, แนวทางการพัฒนา, ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี, อาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) สร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 320 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.8 – 1.00 สภาพปัจจุบันมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.51 – 0.97 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.45–0.96 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 ระยะที่ 2 สร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนา จำนวน 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อประเมินแนวทางการพัฒนา จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัย พบว่า 1.สภาพปัจจุบันโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นเรียงลำดับจากสูงไปต่ำ ดังนี้ ด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน ด้านการเป็นผู้นำด้านวิสัยทัศน์ ด้านการใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและประเมินผล และด้านการมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีตามลำดับ                                  2.แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้งหมด 12 แนวทาง ประกอบด้วย (1) ด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน 3 แนวทาง (2) ด้านการเป็นผู้นำด้านวิสัยทัศน์ 3 แนวทาง (3) ด้านการใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและประเมินผล 3 แนวทาง (4) ด้านการมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี 3 แนวทาง  ผลการประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงเทคโนโลยี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการประจำปีงบประมาณ 2564–2566. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.moe.go.th/360policy-and-focus-moe-2023/. สืบค้น 12 ตุลาคม 2565.

จิราพัชร ไผ่วุฒิพันธ์, ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์ และทีปพิพัฒน์ สันตะวัน (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นําเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์. วารสารรัชตภาคย์. 16(44) : 247.

ชูพงศ์ อยู่ภักดี, และกฤษกนก ดวงชาทม. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 1. วารสารบัณฑิตวิจัย. 12(1) : 36-37.

มัธนา กานะ, จิณณวัตร ปะโคทัง และภาณุพงศ์ บุญรมย์. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์. 7(1) : 537

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ.2560-2579. เข้าถึงได้จาก : https://www.vec.go.th. สืบค้น 12 ตุลาคม 2565.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564).ประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนรู้อาชีวศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://bsq2.vec.go.th/document/covid/learning%20covidv2.pdf. สืบค้น 12 ตุลาคม 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-07-2023

How to Cite

ตรีพรหม ป., & เรืองสุวรรณ ช. (2023). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 241–256. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.35