แนวทางใช้สื่อปฏิสัมพันธ์แบบ 360 องศา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโบราณสถาน กรณีศึกษา ปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • จักรกฤช ใจรัศมี นิสิตปริญญาเอก ภาควิชาสื่อนฤมิต คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พงษ์พิพัฒน์ สายทอง คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.27

คำสำคัญ:

สื่อปฏิสัมพันธ์, 360 องศา, การท่องเที่ยว, โบราณสถาน, ปราสาทศีขรภูมิ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทการท่องเที่ยวโบราณสถาน กรณีศึกษา ปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และเพื่อศึกษาแนวทางใช้สื่อปฏิสัมพันธ์แบบ 360 องศา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโบราณสถาน กรณีศึกษา ปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปราสาทศีขรภูมิ สำรวจ และสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานดูแลโบราณสถานปราสาทศีขรภูมิ ผู้ประกอบการชุมชนบริเวณปราสาทศีขรภูมิ ผู้นำชุมชน นักท่องเที่ยว จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัย คือ สื่อปฏิสัมพันธ์แบบ 360 องศา แบบสำรวจ และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาบริบทการท่องเที่ยวโบราณสถานปราสาทศีขรภูมิมีตำแหน่งที่ตั้งเหมาะสม มีเส้นทางคมนาคมสะดวก มีชุมชนโบราณ มีความเชื่อและศรัทธาในศาสนาฮินดู ลักธิไศวนิกาย งานประติมากรรมจึงเกี่ยวข้องกับรูปเทพเจ้า งานศิลปกรรมเป็นแบบเขมรโบราณ ปราสาทศีขรภูมิได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจานุเบกษา และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว สำหรับผลการศึกษาแนวทางใช้สื่อปฏิสัมพันธ์แบบ 360 องศา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโบราณสถาน กรณีศึกษา ปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ พบว่า ควรมีการประชาสัมพันธ์บริบทที่สำคัญ ในสื่อที่มีรูปแบบหลากหลาย ทั้งแบบออนไลน์และออนไซต์ ควรมีถ่ายทอดให้กับเยาวชน ควรพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์แบบ 360 องศา อย่างต่อเนื่อง ควรเชื่อมโยงเครือข่ายโบราณสถานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และควรส่งเสริมให้ชุมชนรับรู้ ร่วมมือ สืบสาน รวมไปถึงการยอมรับสื่อปฏิสัมพันธ์แบบ 360 องศา ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโบราณสถานปราสาทศีขรภูมิอย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

References

กมลวรรณ วรรณธนัง. (2562). การเสริมสร้างพลังอำนาจของเยาวชนต่อการอนุรักษ์แหล่ง ท่องเที่ยวมรดกโลกทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 13(3) : 34-42.

กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์. (มปป.). 100 เรื่องกรมศิลปากร : การขึ้นทะเบียนโบราณสถานมีหลักเกณฑ์อย่างไร? ต้องการสืบค้นข้อมูลโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วได้ที่ไหน?. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.finearts.go.th/promotion /view/7451-100-เรื่องกรมศิลปากร---การขึ้นทะเบียนโบราณสถานมีหลักเกณฑ์อย่างไร--ต้องการสืบค้นข้อมูลโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วได้ที่ไหน. สืบค้น 25 สิงหาคม 2565.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จักรกฤช ใจรัศมี. (2565, กันยายน 21). บรรยากาศการเข้าชมโบราณสถานปราสาทศีขรภูมิของนักท่องเที่ยว [ภาพถ่าย]. สุรินทร์ : โบราณสถานปราสาทศีขรภูมิ.

เฉลิมศักดิ์ เพชรเมืองฟ้า. (2565, กันยายน 21). พนักงานดูแลโบราณสถานปราสาทศีขรภูมิ. สัมภาษณ์.

ตรีคม พรมมาบุญ, ศิริพร เกตุสระน้อย และสิริลักษณ์ วนพร. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาศักยภาพและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 19(2) : 94-109.

ทัศน์ จารุศักดิ์ศรี. (ม.ป.ป). รูปแบบการเรียนรู้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://disc-u.net/blog_detail.php?id=6. สืบค้น 10 เมษายน 2566.

พระครูใบฎีกาเวียง กิตฺติวณโณ, พระปลัดวัชระ วชิรญาโณ และพระครูศรีปรีชากร. (2565). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชนปราสาทขอม ในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. 9(1) : 33-50.

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์. (มปป.). พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ นำเที่ยวปราสาทศีขรภูมิ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.finearts.go.th/surinmuseum/ view/11318-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ-สุรินทร์-นำเที่ยวปราสาทศีขรภูมิ. สืบค้น 25 สิงหาคม 2565.

วราลักษณ์ มาประสม, นวัฒกร โพธิสาร, จักรกฤช ใจรัศมี, วิจิตรา โพธิสาร, อนุชาวดี ไชยทองศรี, ปฏิวัติ ยะสะกะ, วีรยา มีสวัสดิกุล, จันทร์ดารา สุขสาม และสมพงษ์ วะทันติ. (2564). ผลการใช้สื่อดิจิทัลเทคโนโลยีความจริงเสริมสร้างแผนที่เส้นทางการท่องเที่ยว แหล่งอารยธรรมขอมในสี่จังหวัดอีสานใต้ : นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 16(2) : 161-170.

วินัย สิมลี, ภาคภูมิ ธานีพูน, จักรกฤช ใจรัศมี และปฏิวัติ ยะสะกะ. (2565). สื่อปฏิสัมพันธ์แบบ 360 องศา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโบราณสถานปราสาทศีขรภูมิ. โครงงานปริญญานิพนธ์ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.

สำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา. (2561). ปราสาทศีขรภูมิ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/surin/images/ebook/icon_brochure3.pdf. สืบค้น 25 สิงหาคม 2565.

อิญชญา คำภาหล้า และวัลลภ ศรีสำราญ. (2562). การพัฒนาเว็บไซต์สภาพแวดล้อม 360 องศา ส่งเสริมการท่องเที่ยววัดในเขตเมืองเก่านครราชสีมา. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. 9(1) : 71 - 80.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 17(1) : 17 - 29.

schools. (n.d.). Ancient Egypt: A Powerful Civilization. [Online]. Available : https://schools.360cities.net/guided-tour/_FuMZLkbkrLtzkZEzYcpTA /ancient-egypt-a-powerful-civilization. Retrieve March 28th, 2023.

Snelson, C., and Hsu, Y.-C. (2020). Educational 360-Degree Videos in Virtual Reality: a Scoping Review of the Emerging Research. TechTrends: Linking Research & Practice to Improve Learning. 64(3) : 404–412.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-06-2023

How to Cite

ใจรัศมี จ., & สายทอง พ. (2023). แนวทางใช้สื่อปฏิสัมพันธ์แบบ 360 องศา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโบราณสถาน กรณีศึกษา ปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 111–126. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.27