ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามการรับรู้ของครู สังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อนุนิดา ยนต์ศิริ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อุไร สุทธิแย้ม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.30

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเรียนรู้, ผู้บริหารสถานศึกษา, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามการรับรู้ของครู สังกัดกรุงเทพมหานคร และ2) เปรียบเทียบทัศนคติของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามวุฒิการศึกษา ตำแหน่ง และกลุ่มเขต กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2565  จำนวน 308 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮน และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.957 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า                                 1) ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามการรับรู้ของครู สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ครูที่มีวุฒิการศึกษา และตำแหน่งต่างกัน มีการรับรู้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกันส่วนครูที่ปฏิบัติงานในกลุ่มเขตต่างกัน มีการรับรู้ต่อภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการทำงานเป็นทีมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่ปฏิบัติงานในกลุ่มกรุงเทพกลาง กรุงเทพเหนือ และกรุงเทพใต้ และครูที่ปฏิบัติงานในกลุ่มกรุงธนเหนือ และกรุงธนใต้มีการรับรู้ต่อภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสูงกว่าครูที่ปฏิบัติงานในกลุ่มกรุงเทพตะวันออก โดยภาพรวม และคู่อื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกอร สมปราชญ์. (2560). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 12(34) : 51-65.

นฤมล จิตรเอื้อ. (2560). บทบาทภาวะผู้นำในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(2) : 1738-1754.

ภูเบศร์ บาลชน. (2563). โมเดลภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การนวัตกรรมของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น: โมเดลแข่งขันภาวะผู้นําการเรียนรู้ และภาวะผู้นําแบบร่วมพลัง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

ศรสวรรค์ พานซ้าย. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 5(1) : 90-103.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2562). คู่มือปฏิบัติงานหรือมาตรฐาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://webportal.bangkok.go.th/bangkokeducation. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2566.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2565). รายงานสถิติการศึกษาปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://webportal.bangkok.go.th/ bangkokeducation. สืบค้น 3 มกราคม 2566.

สินีนาฏ จิระพรพาณิชย์. (2562). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในยุคดิจิทัล ตามความคิดเห็นของครูในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9(33) : 256-262.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2018). Research Methods in Education

(8th ed). London: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-07-2023

How to Cite

ยนต์ศิริ อ., & สุทธิแย้ม อ. (2023). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามการรับรู้ของครู สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 159–172. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.30