ศึกษาการถ่ายทอดของครูภูมิปัญญาพื้นบ้านกันตรึมในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • อดิศักดิ์ ชมดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • เฉลิมกิต เข่งแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • เชาว์ การวิชา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.18

คำสำคัญ:

การถ่ายทอด, ครูภูมิปัญญา, ดนตรีพื้นบ้านกันตรึม, บทบาท, จังหวัดสุรินทร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องศึกษาการถ่ายทอดของครูภูมิปัญญาพื้นบ้านกันตรึมในจังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาชีวประวัติและผลงานของครูภูมิปัญญาพื้นบ้านกันตรึมจังหวัดสุรินทร์  2. เพื่อศึกษาการถ่ายทอดความรู้เฉพาะด้านของครูภูมิปัญญาพื้นบ้านกันตรึมและบทบาทหน้าที่ของครูภูมิปัญญาพื้นบ้านกันตรึมในจังหวัดสุรินทร์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการลงพื้นที่ภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบสังเกต เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มครูภูมิปัญญาพื้นบ้านกันตรึม กลุ่มผู้ได้รับการถ่ายทอด ปราชญ์ชาวบ้าน และชาวบ้าน มุ่งศึกษา 3 พื้นที่ ได้แก่ 1) หมู่บ้านวัฒนธรรมบ้านดงมัน ตำบลคอโค อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2) หมู่บ้านปอยตะแบง ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และ 3) หมู่บ้านระไซร์ ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ผลการศึกษาพบว่า

          ด้านชีวประวัติและผลงานของครูภูมิปัญญาพื้นบ้านกันตรึมในจังหวัดสุรินทร์ทั้ง 4 ท่าน มีประสบการณ์ทางดนตรีพื้นบ้านกันตรึม ไม่ต่ำกว่า 20 ปี และมีการถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านกันตรึมสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจวบจนปัจจุบัน จนส่งผลให้ครูภูมิปัญญาพื้นบ้านกันตรึม ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอย่างมากมาย ซึ่งผลงานของครูภูมิปัญญาพื้นบ้านกันตรึมทั้ง 4 ท่าน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 ผลงานภูมิปัญญาศาสตร์ความรู้ความสามารถทั้งทางด้านดนตรี ได้แก่ วงมโหรีกันตรึม และวงดนตรีพื้นบ้านกันตรึม ประเภทที่ 2 ผลงานภูมิปัญญาศาสตร์ความรู้ความสามารถทั้งทางด้านการขับร้อง ประเภทที่ 3 ภูมิปัญญาศาสตร์ความรู้ความสามารถทางด้านช่างศิลป์การประดิษฐ์เครื่องดนตรีพื้นบ้านกันตรึม ได้แก่ ภูมิปัญญาสก็วล (กลองกันตรึม) และภูมิปัญญาตรัว (ซอกันตรึม) ซึ่งเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดสุรินทร์

          ด้านกระบวนการการถ่ายทอดความรู้เฉพาะด้านของครูภูมิปัญญาพื้นบ้านกันตรึมของครูภูมิปัญญาทั้ง 4 ท่าน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการเคารพครูบาอาจารย์ ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ครูภูมิปัญญาพื้นบ้านใช้วิธีการถ่ายทอดแบบมุขปาฐะแสดงให้เห็นถึงความเคารพของศิษย์ที่มีต่อครูบาอาจารย์ ซึ่งก่อนศิษย์จะเข้าเรียนจะต้องมีการทำพิธีไหว้ครูเพื่อมอบตัวเป็นศิษย์ก่อนเริ่มเรียนเพื่อเป็นการระลึกถึงครูบาอาจารย์ โดยมีความเชื่อว่า ครูจะประสิทธิ์ประศาสตร์วิชาให้แก่ศิษย์จนสามารถร่ำเรียนวิชาดนตรีสำเร็จ 2) ขั้นการคัดเลือกบทเพลง 3) ขั้นการถ่ายทอดทักษะเชิงปฏิบัติ 4) ขั้นการประเมินผลและปรับปรุง โดยกระบวนการการถ่ายทอดความรู้เฉพาะด้านแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) การถ่ายทอดด้านดนตรี คือ การเป่าปี่ไสล การเป่าปี่อ้อ และการสีซอกันตรึม 2) การถ่ายทอดด้านการขับร้อง คือ ระหว่างการถถ่ายทอดศิษย์จะต้องอาศัยมีการจดบันทึกเนื้อร้อง เพื่อที่จะจดจำเนื้อเพลงในการขับร้อง เนื่องจากบทร้องเพลงกันตรึมมีเนื้อหาค่อนข้างยาว จึงต้องใช้วิธีการจดบันทึกเนื้อร้องและฝึกฝนเป็นเวลานาน ทั้งนี้การถ่ายทอดทางด้านตรีและการขับร้องในแต่ละบทเพลงครูต้องคำนึงถึงทักษะความสามารถ ความถนัด ประสบการณ์ และปฏิภาณไหวพริบของผู้เรียนเป็นเป็นรายบุคคล เพื่อนำไปสู่กระบวนการฝึกฝน โดยเน้นการอธิบาย การสาธิตให้ศิษย์ทำตามฝึกประสบการณ์ออกแสดงในเวทีต่าง ๆ เพื่อพัฒนาศิษย์ให้เกิดความชำนาญตามทักษะความสามารถของแต่ละบุคคล

          ด้านบทบาทหน้าที่ของครูภูมิปัญญาพื้นบ้านกันตรึมในจังหวัดสุรินทร์ แบ่งออกเป็น 3 ด้านได้แก่ 1) บทบาทหน้าที่ต่อตนเอง คือ การเป็นต้นแบบของลูกศิษย์ มีความรัก ความเมตตาต่อศิษย์และมีความเสียสะหมั่นเพียรศึกษาหาแนวทางปรับปรุงวิธีการสอนเพื่อพัฒนาตนเอง 2) บทบาทหน้าที่ด้านสังคม คือ บทบาทต่อหน่วยงานรัฐในการเข้าบรรเลงเพลงในงานวันสำคัญต่าง ๆ ที่ทางจังหวัดจัดขึ้น การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ สืบสาน ถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางด้านศิลปะวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านจนเป็นที่ยอมรับของสังคมชุมชนท้องถิ่น 3) บทบาทหน้าที่ทางภูมิธรรม คือ การมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่คนในชุมชน สังคม และประเทศให้คงอยู่คู่สังคมสืบไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

กิจชัย ส่องเนตร. (2554). การถ่ายทอดสะล้อในวัฒนธรรมดนตรีล้านนา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2542) คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5, เล่มที่ 1 กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.

เครือจิต ศรีบุญนาค. (2534). การฟ้อนรำของชาวไทยเขมรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา (เน้นมนุษยศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

โฆษิต ดีสม. (2565, สิงหาคม 25). ครูภูมิปัญญา. สัมภาษณ์.

โฆสิต ดีสม. (2544). พัฒนาการของกันตรึมบ้านดงมัน ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2540). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดัด สังขาว. (2565, ตุลาคม 15). ครูภูมิปัญญา. สัมภาษณ์.

ปณิธาน อารีย์, เชาว์ การวิชา และเฉลิมกิต เข่งแก้ว. (2563). การศึกษาภูมิปัญญาตรัวจังหวัดสุรินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 22(2) : 63.

ปิ่น ดีสม. (2539). บทขับร้องเพลงกันตรึม. บันทึกส่วนตัว. สุรินทร์ : ม.ป.ท. อัดสำเนา.

เผย ศรีสวาท. (2565, กันยายน 23). ครูภูมิปัญญา. สัมภาษณ์.

พชร สุวรรณภาชน์. (2543). เพลงโคราช : การศึกษาทางมานุษยวิทยาการทางดนตรี. วิทยานิพนธ์ศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

พรรณราย คำโสภา. (2540). กันตรึมกับเพลงประกอบการแสดงพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ไพฑูรย์ มีกุศล. (2531). อีสานศึกษา. มหาสารคาม : คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ภาณุวัฒน์ คำฤาชัย. (2557). กระบวนการสืบทอดดนตรีผู้ไทยบ้านคำม่วง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วงศ์วสันต์ วสันตสุรีย์. (2555). การสืบทอดดนตรีไทยบ้านครูสกล แก้วเพ็ญกาศ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาฃศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศันสนีย์ จะสุวรรณ. (2549). ภูมิปัญญาในดนตรีไทย : รูปแบบการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ของครอบครัว “นักดนตรี”. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์. (2531). สหวิทยาเขตอีสานใต้–สุรินทร์. การละเล่นพื้นบ้านของจังหวัดสุรินทร์เรือมอันเรเรือมกันตรึม. สุรินทร์ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์. (2542). วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์ : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์. (2551). “พูนสาม สีศรี แห่งครูศรีเมืองสุรินทร์ศรีศิลปินกันตรึม” หนังสืออนุสรณ์งานศพ. ศรีสะเกษ : ศรีสะเกษการพิมพ์.

สุดฤทัย เมอะประโคน (2562). กันตรึมบุรีรัมย์คณะบุญถึงตำบลโคกตาด้วง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 7(1) : 25-26.

สุนทร อ่อนคำ. (2551). เจรียง กันตรึม : วิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมกลุ่มชนเขมรอีสานใต้.กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุภนิดา พรเอี่ยมมงคล, เชาว์ การวิชา และเฉลิมกิต เข่งแก้ว (2563). การศึกษาภูมิปัญญาตรัวจังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

เสาวภา พรสิริพงษ์ และณัฐกา สงวนวงษ์. (2552). กลุ่มเพลงตามช่วง ชั้นผลักดันสู่หลักสูตรท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-04-2023

How to Cite

ชมดี อ., เข่งแก้ว เ., & การวิชา เ. (2023). ศึกษาการถ่ายทอดของครูภูมิปัญญาพื้นบ้านกันตรึมในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 261–284. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.18