การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.13คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, สถานศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5บทคัดย่อ
การบริหารงานวิชาการได้อย่างสมบูรณ์จำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารงานวิชาการและเข้าใจขอบเขตของการบริหารงานวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรและการสอน งานด้านการปรับปรุงการเรียนการสอน การนิเทศการสอนและการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งงานด้านการวัดผลและประเมินผล การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพบริหารงานวิชาการตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับสภาพบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษ าสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 เป็นการวิจัยแบบเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูจำนวน 182 คน ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 91 คน และ หัวหน้างานบริหารงานวิชาการ จำนวน 91 คน ในสถานศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูจำนวน 148 คน ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 74 คน และ หัวหน้างานบริหารงานวิชาการ จำนวน 74 คน ในสถานศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษา ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบมาตรประเมินค่า 5 ระดับ มีความความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Scheffe'
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2) ข้าราชการครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน
3) แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 สถานศึกษาควรมีการวางแผนงานด้านวิชาการโดยการรวบรวมข้อมูลและกำกับดูแล นิเทศและติดตามเกี่ยวกับงานวิชาการ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
_____________. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
_____________. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จิรเดช ศรีกาญจนวงษ์. (2562). การศึกษาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.
รุจิรา ศรีมาฤทธิ์. (2560) สภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุลัดดาวัลย์ อัฐนาค. (2557) การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารวิชาการโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 14 (ผาแต้ม) อำเภอโขงเจียมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.