การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

ผู้แต่ง

  • ปัญญา ตรีเลิศพจน์กุล ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1
  • สมฤทัย เตาจันทร์ นักวิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.11

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม, สถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

บทคัดย่อ

          การบริหารงานวิชาการอันเป็นหัวใจของการบริหารสถานศึกษานั้น สถานศึกษาต้องสามารถที่จะปฏิบัติให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยการดำเนินงานให้ได้ผลนั้นต้องอาศัยกระบวนการการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทำให้บุคลากรในสถานศึกษามีบทบาทในการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาร่วมกัน โดยกระบวนการที่สำคัญประกอบด้วย กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม 5 ส่วน คือ การมีส่วนร่วมคิดและตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการวางแผน การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ การมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ เป็นแนวทางทำให้สถานศึกษามีการบริหารงานวิชาการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 (2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 จำแนกตามเพศ และขนาดสถานศึกษา (3) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 เป็นการวิจัยแบบเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 225 คน และครูผู้สอนในสถานศึกษา จำนวน 3083 คน รวมทั้งสิ้น 3308 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 24 คน และครูผู้สอนในสถานศึกษา จำนวน 322 คน รวมทั้งสิ้น 346 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Scheffe' และการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลจากแบบสอบถามปลายเปิด ผลการวิจัยพบว่า

  1. การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 5 ทั้ง 4 ด้าน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
  2. การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 5 จำแนกตามเพศ และขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติไม่แตกต่างกัน
  3. แนวทางการพัฒนาจากแบบสอบถามปลายเปิดพบกว่า สถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และผู้บริหารควรสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและรับฟังความคิดเห็นจากครู

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.พ.ส.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

ธีระ รุญเจริญ. (2559). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

สมศักดิ์ คงเที่ยง. (2548). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิพ์มหาวิทยาลัย รามคำแหง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. (2564). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://web.ubon5.go.th/homepage/vision สืบค้น 20 ตุลาคม 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-03-2023

How to Cite

ตรีเลิศพจน์กุล ป., & เตาจันทร์ ส. (2023). การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 . วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 153–166. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.11