แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวกัมพูชา

ผู้แต่ง

  • ซันฟี ไท นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • กุลวดี ละม้ายจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • รัตนะ ปัญญาภา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.16

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, นักท่องเที่ยวชาวกัมพูชา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวกัมพูชา 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวกัมพูชา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวกัมพูชาที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 12 คน และตัวแทนหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชนจำนวน 13คน โดยรวมทั้งหมด จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพแวดล้อมทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีทฤษฎี (SWOT) เป็นแนวทาง ดังนี้ จุดแข็ง โรงพยาบาลมีอุปกรณ์ด้านการแพทย์ที่ทันสมัย และแพทย์ที่มีความเชียวชาญเฉพาะทางมีความสามารถรักษาบำบัดได้เป็นอย่างดี และยังมีแหล่งท่องเที่ยวแบบธรรมชาติเป็นจำนวนมาก จุดอ่อน ผู้ประสานงานด้านภาษากัมพูชา-ไทย และป้ายสื่อความหมายตามจุดต่าง ๆ ไม่เพียงพอ โอกาส ที่ตั้งมีระยะทางใกล้กัน ถนนหนทางที่สะดวก มีโรงแรม และที่พักหลายระดับที่สามารถเลือกได้ มีร้านอาหารที่สามารถรองรับได้ อุปสรรค แหล่งท่องเที่ยว โรงพยาบาล และจุดให้บริการต่าง ๆ ยังขาดการประชาสัมพันธ์ 2) ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวกัมพูชา มีองค์ประกอบ (6As) คือ 1. สิ่งดึงดูดใจ 2. ความสามารถในการเข้าถึง 3. สิ่งอำนวยความสะดวก 4. ที่พัก 5. กิจกรรม 6. ด้านการจัดการและบริการการท่องเที่ยว และ 3) ข้อเสนอแนะเพื่อให้มีการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี ดังนี้  1. การพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 2. การพัฒนาการจัดการ และการบริการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 3. การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ  4. การพัฒนากิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 5. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธิติพร ชาญศิริวัฒน์, (2561). ความต้องการสารสนเทศการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวไทย. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 36(4) : 1-17.

นิศาชล ลีรัตนากร และชนิดา พันธ์มณี. (2556). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในจังหวัด เชียงใหม่. รายงานการวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วารีพร ชูศรี และ วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2563). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ: ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7(2) : 205-218.

วารีพร ชูศรี และวรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2563). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bit.ly/3D4ggKn. สืบค้น 11 ธันวาคม 2565.

ศิริเพ็ญ ศุภกาญจนกันติ. (2563). โควิด-19 ผลกระทบต่อความท้าทาย โอกาสการท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thansettakij.com/columnist/452191. สืบค้น 11 ธันวาคม 2565.

สุจิตรา สุคนธทรัพย์, วิภาวดี ลี้มิ่งสวัสดิ์ และคมสิทธิ์ เกียนวัฒนา. (2560). สถานการณ์ความต้องการและแนวโน้มของรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเอเชีย. วารสารวิชาการสถาบันพลศึกษา. 10(1) : 167-177.

Connell, John. (2013). Contemporary medical tourism: Conceptualization, culture and commodification. Tourism Management. 34(February) : 1-13.

Runnels, Vivien and Carrera, P.M. (2012). Why do patients engage in medical tourism?. Maturitas. 73(4) : 300-304.

Ueasin, N. and Wongchai, A. (2016). The operational efficiency of health tourism industries in three provinces of northeastern Thailand. Information. 19(7) : 2839-2844.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-04-2023

How to Cite

ไท ซ., ละม้ายจีน ก., & ปัญญาภา ร. (2023). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวกัมพูชา. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 223–242. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.16

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)