“ไก่ชนเงินล้าน” จากการเพาะเลี้ยงสู่กระบวนการพัฒนาเชิงพาณิชย์ แบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ดาศรินทร์พัชร์ สุธรรมดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • เสกสรรค์ สนวา คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.15

คำสำคัญ:

ไก่ชนเงินล้าน, การเพาะเลี้ยงไก่ชน, เชิงพาณิชย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงและพัฒนาไก่ชนเชิงพาณิชย์แบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษารูปแบบของการทำฟาร์มไก่ชนเชิงธุรกิจที่พร้อมจะเป็นอาชีพทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกร (ฟาร์มตัวอย่าง) เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประธานกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ชน อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ, ตัวแทนสมาคมผู้เพาะเลี้ยงไก่ชนจังหวัดชัยภูมิ, ปราชญ์ชาวบ้านผู้มีความรู้เรื่องไก่ชน และเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงไก่ชน รวมจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงและพัฒนาไก่ชนเชิงพาณิชย์แบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ดำเนินการโดยจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้แก่กลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงไก่ชนบ้านคอนสวรรค์ จำนวน 50 คน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลคอนสวรรค์ ในวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2565 องค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงและพัฒนาไก่ชนที่นำมาถ่ายทอดแก่เกษตรกร ได้แก่ องค์ความรู้เรื่องสายพันธุ์ไก่ชน, การคัดเลือกพันธุ์ไก่ชน, การดูลักษณะไก่ชน, โรคในไก่ชน และวิธีการรักษา, การเพาะขยายพันธุ์ไก่ชน, และสมุนไพรสำหรับไก่ชน ส่วนผลประเมินระดับความพึงพอใจของเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรม พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่เกษตรกรมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ 4.98 อยู่ 2 ด้าน คือ ด้านกระบวนการถ่ายถอดองค์ความรู้ และด้านวิทยากร มีค่าเฉลี่ยที่ 4.98 และการศึกษารูปแบบของการทำฟาร์มไก่ชนเชิงธุรกิจ ที่พร้อมจะเป็นอาชีพทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรจังหวัดชัยภูมิ พบว่า “โชคดาราฉายฟาร์มไก่ชน” จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีคุณศุภวิทย์ เขียวศรี หรือ เสี่ยโย เป็นผู้บริหารสูงสุดของฟาร์ม เป็นฟาร์มตัวอย่างปัจจุบันตั้งอยู่ที่ บ้านโกรกขี้หนู ตำบลซุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ รูปแบบการดำเนินธุรกิจทำฟาร์มไก่ชนที่ประสบความสำเร็จของโชคดาราฉายฟาร์มต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยดังนี้ การสุขาภิบาลฟาร์ม, การคัดเลือกพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ไก่ชน, เทคนิควิธีการเลี้ยงไก่สำหรับชนเพื่อขยายตลาด, วิธีเลี้ยงลูกไก่ในฟาร์ม, การฟักไข่ และการซื้อขายเชิงธุรกิจ  นอกจากนี้ความซื่อสัตย์ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของการทำธุรกิจฟาร์มไก่ชนบนความเชื่อที่ว่า “ให้สิ่งที่ดีกับเขาไป สิ่งที่ดีจะกลับมาหาเรา”

Downloads

Download data is not yet available.

References

ทัศนีย์ ธงชัย. (2542). สภาพและแนวทางการดำเนินการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน สังคมศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา แผนกการศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. 2565 – 2569. 2565. แผนพัฒนาจังหวัดชัยภูมิ. สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ.

แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2565-2569. 2565. แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. หน้า 12-14.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. 2565. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 12 หน้า 4-6.

ศุภชัย วงศ์อนันต์. (2545). ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการพัฒนาการเลี้ยงไก่ชนในจังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศุภวิทย์ แก้วศรี. (2565, สิงหาคม 6-7). ผู้จัดการฟาร์มไก่ชนโชคดาราชัยฟาร์ม อ.เมือง จ.บุรีรัมย์. สัมภาษณ์.

อรรฆวารีรักษ์. (2545). การดำเนินธุรกิจไก่พื้นเมืองลูกผสมในอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ รายงานการศึกษาปัญหาพิเศษ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อาวุฒิ วานิชชาติ. (2542). การผลิตสัตว์เดี่ยวในหมู่บ้านอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2536). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : มูลนิธิปัญญา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-04-2023

How to Cite

สุธรรมดี ฉ. ., สุธรรมดี ด., & สนวา เ. (2023). “ไก่ชนเงินล้าน” จากการเพาะเลี้ยงสู่กระบวนการพัฒนาเชิงพาณิชย์ แบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 207–222. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)