นวัตกรรมชุมชนเพื่อเสถียรภาพความมั่นคงด้านน้ำสำหรับการยังชีพของประชาชนในลุ่มน้ำลำปะทาว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ประมุข ศรีชัยวงษ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.17

คำสำคัญ:

นวัตกรรมชุมชน, เสถียรภาพความมั่นคงด้านน้ำ, ลุ่มน้ำลำปะทาว

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างการเรียนรู้ในการบริหารจัดการน้ำให้ประชาชนได้เกิดความตระหนักรู้ เข้าใจและนำไปปฏิบัติจริงในชุมชน 2) เพื่อสร้างนวัตกรรมและทางเลือกที่เหมาะสมในการบริหารจัดการน้ำโดยกระบวนการมีส่วนร่วมให้กับชุมชน 3) เพื่อนำนวัตกรรมและแนวทางที่เหมาะสมไปใช้ในการบริหารจัดการน้ำในชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้และขยายผลในวงกว้าง 4) เพื่อสร้างกลไกในการบริหารจัดการน้ำโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นแนวทางในการปฏิบัติ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยอาศัยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research: PAR) ของประชาชน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)  เครื่องมือในการวิจัย แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ การอบรมสัมมนา การเปิดเวทีแสดงความคิดเห็น การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการทำประชาพิจารณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ อาศัยการวิเคราะห์ 3 ขั้นตอน คือ  1) การลดทอนข้อมูล (Data reduction) ให้สามารถลงรหัส (Coding) เพื่อจำแนกประเภทของตัวแปรเชิงคุณภาพให้สามารถแจงนับความถี่ได้ 2) การจัดระบบข้อมูล (Data organization) คือ การจำแนกประเภทของตัวแปร จัดรวมกลุ่มตัวแปรเป็นองค์ประกอบหรือมิติ (Elements or Dimensions) เพื่อให้ได้แนวคิด (Concepts) และ 3) การตีความ (Interpretation) คือการระบุทิศทางและแนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิด ด้วยการอธิบายและตีความเชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงเหตุผลนำไปสู่บทสรุป (Conclusion) 

          ผลการวิจัย พบว่า การเรียนรู้ในการบริหารจัดการน้ำให้ประชาชนได้เกิดความตระหนักรู้ เข้าใจและนำไปปฏิบัติจริงในชุมชน เป็นการนำความรู้ทางด้านทฤษฎี หลักการและองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำ เช่น แหล่งของทรัพยากรน้ำ ป่าต้นน้ำ ระบบนิเวศลำน้ำ วิกฤตการณ์ด้านน้ำ และผลกระทบจากวิกฤตการณ์น้ำในพื้นที่เป้าหมาย เป็นต้น และผลของการสร้างการเรียนรู้ให้กับประชาชน เกี่ยวกับประเด็นการวิจัยเรื่อง นวัตกรรมชุมชนเพื่อเสถียรภาพความมั่นคงด้านน้ำสำหรับการยังชีพของประชาชนในลุ่มน้ำลำปะทาว อำเภอเมืองจังหวัดชัยภูมิ การสร้างนวัตกรรมและทางเลือกที่เหมาะสมในการบริหารจัดการน้ำโดยกระบวนการมีส่วนร่วมให้กับชุมชน เป็นการนำองค์ความรู้ และเลือกนวัตกรรมที่มีความเหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเชิงพื้นที่ ได้มีมติเลือกนวัตกรรมในการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน 3 นวัตกรรม คือ ฝายมีชีวิต และธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด การนำนวัตกรรมและแนวทางที่เหมาะสมไปใช้ในการบริหารจัดการน้ำในชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้และขยายผลในวงกว้าง โดยเน้นเป็นนวัตกรรมที่ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึง มีกระบวนการดำเนินการที่ไม่ยุ่งยาก ต้นทุนถูกสามารถจัดหาวัสดุในท้องถิ่นได้ โดยการนำนวัตกรรมไปสู่การปฏิบัติร่วมกัน และเกิดนวัตกรและจิตอาสาชุมชน และการสร้างกลไกในการบริหารจัดการนวัตกรรมน้ำโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นขั้นตอนที่ได้ดำเนินการก่อสร้างนวัตกรรมฝายมีชีวิต จนเสร็จสมบูรณ์และพร้อมใช้งานได้แล้ว ซึ่งชุมชนที่เป็นแหล่งที่ตั้งของฝายมีชีวิตจะต้องมีการจัดทำกติกาว่าด้วยการใช้ประโยชน์ และดูแลรักษาให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ตลอดจนรักษาระบบนิเวศให้สมดุลยั่งยืน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กลุ่มภารกิจนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สก.สว.).

ชลธร ทิพย์สุวรรณ. (2557). การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการลุ่มน้ำสาขาแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและสาละวินศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ชิษนุวัฒน์ มณีศรีขำ. (2560). การบริหารจัดการชุดโครงการวิจัยการจัดการน้ำชุมชน. จดหมายข่าวประชาคมวิจัย. 23(134).

นริศรินทร พันธเพชร และสมิหรา จิตตลดากร. (2564). รูปแบบการจัดการโครงการธนาคารน้ำใต้ดินอย่างยั่งยืนของจังหวัดยโสธร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(3).

ประชัย ศรีจามร. (2549). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการปลูกป่าภาครัฐ กรณีศึกษาป่าน้อยอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. 2565. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 12 หน้า 4-6.

ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ.2561-2580. (13 ตุลาคม 2561). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82ก หน้า 5-14.

สมิหรา จิตตลดากร. (2564). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Internationals Educational. (2563). Scientific and cultural Organization. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://scholar.google.co.th/scholar?q=International+Educational.+(2563).+Scientific+and+cultural+Organization&hl=th&as_sdt=0&as_vis=1&oi=scholar. สืบค้น 18 มกราคม 2563.

Srichaiwong, P. et al. (2020). The Live Weir Innovation at Chi River Watershed, Chaiyaphum Province, Thailand. Biosc.Biotech.Res.Comm. Special Issue. 13 (15) : 103-107.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-04-2023

How to Cite

ศรีชัยวงษ์ ป., & สุธรรมดี ฉ. . (2023). นวัตกรรมชุมชนเพื่อเสถียรภาพความมั่นคงด้านน้ำสำหรับการยังชีพของประชาชนในลุ่มน้ำลำปะทาว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 243–260. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.17