การศึกษาปัญหาและความต้องการทางสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ปริพัช เงินงาม วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ผกามาศ คำเสือ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ฐิติรัตน์ ชัยชนะ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.23

คำสำคัญ:

ปัญหาและความต้องการทางสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, เทศบาลตำบล, การแพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการทางสุขภาพของผู้สูงอายุ และ 2) เสนอรูปแบบการดูแลส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทยในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยโดยการทบทวนเอกสารตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการการดูแลทางสุขภาพของผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย และใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อถอดประสบการณ์ด้านสุขภาพชุมชนจากผู้สูงอายุชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ อาข่า มูเซอ ลีซอ จีนฮ่อ และพื้นเมืองล้านนา จำนวน 120 คน ตลอดจนผู้บริหารเทศบาลตำบลดอยฮาง จำนวน 15 คน และแพทย์แผนไทยวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ จำนวน 15 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาทางสุขภาพของผู้สูงอายุประกอบด้วย 3 กลุ่มได้แก่  กลุ่มปัญหาด้านโรคประจำตัว กลุ่มปัญหาด้านอาการเจ็บป่วย และกลุ่มปัญหาด้านสุขภาพจิต ในขณะที่ความต้องการทางสุขภาพของผู้สูงอายุประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ ความต้องการเข้าถึงบริการสุขภาพเชิงรุกในชุมชน และความต้องการเกี่ยวกับการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีการเสนอรูปแบบการดูแลส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพของพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ในพื้นที่เทศบาลตำบลดอยฮาง ออกเป็น 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมออกหน่วยคลินิกการแพทย์แผนไทยเคลื่อนที่ในชุมชน และกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทยในชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). ข้อมูลผู้สูงอายุในมิติต่าง ๆ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1592. สืบค้น 4 ธันวาคม 2565.

ณัฐทิยา วัฒนศิริศาสตร์ และกรชนก สนิทวงศ์. (2565). การบริหารจัดการที่ดินของเกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาการเผาทำลายและ ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินในพื้นที่ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารพัฒนศาสตร์. 5(1) : 50-85.

ณิสาชล นาคกุล และปานดวงใจ เสนชู. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแลหลัก เขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 4(2) : 27-39.

ณิศรา ชัยวงค์, ยิ่งยง เทาประเสริฐ, กันยานุช เทาประเสริฐ และศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงศ์. (2565). การวิเคราะห์ศักยภาพการดูแลสุขภาพทางจิตใจของผู้สูงอายุตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(8) : 264-275.

เทศบาลตำบลดอยฮาง. (2565). ข้อมูลพื้นฐานเทศบาลตำบลดอยฮาง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://doihang.go.th/index.php/menu/title. สืบค้น 5 กันยายน 2565.

นคร จันต๊ะวงษ์, รุสนี มามะ, โชคชัย แซ่ว่าง, ศิวพงศ์ ตันสุวรรณวงศ์ และชัยนรินทร์ เรือนเจริญ. (2564). การพัฒนานวัตกรรมการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ ด้วยสมุนไพรใกล้มือสำหรับผู้สูงอายุ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 10(1) : 245-256.

นวรัตน์ ไวชมภู, รัตติภรณ์ บุญทัศน์, มุสตูรา ยะโกะ และเดียร์นา แม็ง. (2564). ผลของการบริหารร่างกายส่วนบนด้วยท่ามณีเวชต่ออาการปวดกล้ามเนื้อร่างกายส่วนบนในผู้สูงอายุตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 4(2) : 92-100.

ปราณี พระโรจน์. (2563). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานตำบลจัดการสุขภาพต้นแบบโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลนาบัว อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 13(2) : 99-105.

วรรณพร สุริยะคุปต์, ยิ่งยง เทาประเสริฐ, กันยานุช เทาประเสริฐ และศิวพงษ์ ตันสุวรรณวงค์. (2565). การศึกษาพัฒนาการของรูปแบบโรงพยาบาลสาธิตการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(1) : 63-78.

ศิราณี ศรีหาภาค, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, ณรงค์ คำอ่อน, พัฒนี ศรีโอษฐ์, พลอยลดา ศรีหานู และทิพวรรณ ทับซ้าย. (2564). สถานการณ์ ปัญหา และความต้องการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ภายใต้กองทุนระบบการดูแลระยะยาว จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 15(36) : 44-62.

เสาวรส มีกุศล และคณะ. (2561). การศึกษารูปแบบการให้บริการสุขภาพเคลื่อนที่สำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลทหารบก. 19(1) : 62-69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-06-2023

How to Cite

เงินงาม ป., คำเสือ ผ. ., ชัยชนะ ฐ. ., & ตันสุวรรณวงค์ ศ. . (2023). การศึกษาปัญหาและความต้องการทางสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2), 43–56. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.23