การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยบ้านใหม่สามัคคี ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ศิริญญา ฐานบำรุง คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุพัตรา หล้าสงค์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • เสกสรรค์ สนวา คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.10

คำสำคัญ:

ระดับการมีส่วนร่วม, การจัดการขยะ, การมีส่วนร่วมของประชาชน

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะชุมชนบ้านใหม่สามัคคี ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด และ 2) เสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะชุมชนบ้านใหม่สามัคคี ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด วิจัยออกแบบเป็นเชิงปริมาณ (Quantitative  Research) กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือ ประชาชนที่เป็นสมาชิกจำนวน 110 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ได้แก่ ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ผลการวิจัย พบว่า

          1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงาน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =3.58, S.D=0.61) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}=3.52, S.D=0.75) และการมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล พบว่า การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}=3.30, S.D=0.83)
          2) ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะชุมชนบ้านใหม่สามัคคี ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า 1) อยากให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองใหญ่นำรถเก็บขยะมาเก็บที่ชุมชนเหมือนเดิม จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 28.00 2) อยากให้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองใหญ่นำถังขยะแต่ละประเภทกลับมาให้ชุมชน จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 24.00 และ 3) อยากให้มีความร่วมมือ ใส่ใจ สามัคคีแบบนี้ตลอดไป จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กลมควบคุมมลพิษ. (2552). คู่มือสำหรับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างครบวงจร. https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2020/05/pcdnew-

นฤนาท ยืนยง และพิชชานาถ เงินดีเจริญ. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของตำบลสาพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,12,(2),279 -297.

ปิยชาติ ศิลปะสุวรรณ. (2557). ขยะมูลฝอยชุมชน ปัญหาใหญ่ที่ประเทศกำลังเผชิญ. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา,4(7),1-27.

พัชรี สินเจริญ. (2562). การจัดการขยะมูลฝอย : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบางขวัญอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2562_1597732926_6114832075.pdf

สุวัตถิ์ ไกรสกุล, ปรเมศวร์ ศริรักษ์ และจุฑาภรณ์ คงรักษ์กวิน. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตําบลบางไผ่ อําเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี.วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ,7,(1),113-120.

องค์กรบริหารส่วนตำบลหนองใหญ่. (2564). โครงการทำดีด้วยหัวใจ ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองใหญ่, ร้อยเอ็ด : เอกสารอัดสำเนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-03-2023

How to Cite

ฐานบำรุง ศ., หล้าสงค์ ส., & สนวา เ. (2023). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยบ้านใหม่สามัคคี ตำบลหนองใหญ่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 141–152. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.10

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)

หมวดหมู่