การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านบัวขุนจง ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • หทัยชนก รัตนถาวรกิติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ศิวพร พยัคนันท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • รุจิเรศ รุ่งสว่าง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ฐานิดา สิทธิเสือ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • คเชนทร์ วัฒนะโกศล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.1

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, ศักยภาพการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านบัวขุนจง ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทชุมชนและศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน  2) ประเมินศักยภาพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน 3) ศึกษาการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Methods Research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณที่เก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบสอบถาม ร่วมกับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยใช้การสำรวจ แบบสัมภาษณ์ การประชุมย่อย กับผู้นำชุมชนและคนในชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

          จากการวิจัยพบว่า บ้านบัวขุนจง เป็นชุมชนที่มีการปลูกพืชผักอินทรีย์ มีการจัดการแปลงผักอินทรีย์ร่วมกันของคนในชุมชน และมีสวนผลไม้ของเกษตรกรในพื้นที่ ผลการประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ใช้การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามศักยภาพทั้ง 5 ด้าน พบว่า มีศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว และด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านศักยภาพผู้นำเที่ยว ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกตามลำดับ การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร บ้านบัวขุนจง ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ มีแนวทาง ดังนี้ 1) พัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยจัดเป็นฐานกิจกรรมการท่องเที่ยว ฐานกิจกรรมการปลูกพืชเศรษฐกิจและสมุนไพรท้องถิ่น ฐานกิจกรรมการชมสวนผลไม้อินทรีย์ และฐานกิจกรรมการทำอาหารจากวัตถุดิบท้องถิ่น และนำกิจกรรมการท่องเที่ยวมาพัฒนาเป็นโปรแกรมการท่องเที่ยวที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว 2) เสริมศักยภาพของคนในชุมชนให้มีความรู้และทักษะในด้านการบริหารและการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร  3) สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและภาคีเครือข่าย เพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อคนในชุมชนต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

Andrews, K. R. (1980). The Concept of Corporate Strategy. Revised Edition, Illinois : Richard D. Irwin, Inc.

Chirinang, P. (2020). The Component of Readiness for the Innovative OTOP Community Tourism of the Mahasawat Canal Community, Nakhon Pathom Province. Local Administration Journal. 13 : 47-62. [In Thai]

Hommolthil, S. (2019). Community-based tourism towards sustainability. [Online]. Available from : https://www.gsbresearch.or.th/wpcontent/uploads/2019/10/GR_report_travel_detail.pdf. Retrieved November 3, 2022. [In Thai]

Khemtong, S. (2022). Souvenir business. Sukhothai Thammathirat Open University. [Online]. Accessed from : https://www.smeleader.com/files/business_plan/business_plan_souvenir shop03.pdf. Retrieved November 3, 2022. [In Thai]

Kongtanajaruanun, R, and Pongsiwat, C. (2011). People Participation in Development of Local Souvenirs for Sustainable Tourism in Chiang Mai. Research Report. Chiang Mai : Maejo University. [In Thai]

Somsila, K. and Kaewnuch, K. (2018). Participative Factors Affecting Community Based Tourism Management : A Case Study of Kham Muang, Kalasin Province. Journal of Dusit Thani College. 12 : 103-123. [In Thai]

Swanson, K.K. and Horridge, P.E. (2006). Travel motivations as souvenir purchase indicators. Tourism Management. 27 : 671-683.

Tongla, P. and Burakachonkun, N. (2022). The Potential Development of Agro-tourism of Patthawi Community, Chanthaburi Province. Journal of Graduate School Suan Dusit. 8(2) : 175-190. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-02-2023

How to Cite

รัตนถาวรกิติ ห., พยัคนันท์ ศ., รุ่งสว่าง ร., สิทธิเสือ ฐ., & วัฒนะโกศล ค. (2023). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านบัวขุนจง ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 1–16. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.1

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)