สภาพนวัตกรรมการบริการสาธารณะและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อนวัตกรรมการบริการสาธารณะในเทศบาลเมือง ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สุพจน์ บุญวิเศษ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.12

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, การบริการสาธารณะ, ความพึงพอใจ, เทศบาลเมืองชลบุรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพนวัตกรรมการบริการสาธารณะของเทศบาลเมือง ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี (2) ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อนวัตกรรมการบริการสาธารณะ ของเทศบาลเมือง ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และ (3) ศึกษาประโยชน์ที่จะได้รับของผู้รับบริการนวัตกรรมบริการสาธารณะของเทศบาลเมือง ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนผู้มาใช้บริการจากเทศบาลเมืองทั้ง 10 แห่ง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงหาความสัมพันธ์แบบถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการเรียกร้องหรือแสดงความเห็นให้เทศบาลจัดทำบริการสาธารณะในท้องถิ่น (ร้อยละ 50.55) และ ประชาชนเคยพบเห็นนวัตกรรมสาธารณะใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในท้องถิ่น (ร้อยละ 63.75) และ ประชาชนเคยพบเห็นการนำนวัตกรรมสาธารณะเดิมมาปรับปรุง พัฒนา (ร้อยละ 67.00) ส่วนความพึงพอใจที่มีต่อการจัดทำนวัตกรรมการบริการสาธารณะในท้องถิ่นพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีความพึงพอใจสูงสุดคือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นกับเทศบาลในการจัดทำนวัตกรรมบริการสาธารณะในท้องถิ่น (ค่าเฉลี่ย 3.56) สำหรับการศึกษาประโยชน์ที่จะได้รับของผู้รับบริการนวัตกรรมบริการสาธารณะของเทศบาลเมือง ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.60) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ามีประโยชน์สูงสุดคือ เทศบาลมีอิสระในการจัดทำนวัตกรรมการบริการสาธารณะในท้องถิ่น (ค่าเฉลี่ย 3.60) การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ระหว่างการจัดทำนวัตกรรมการบริการสาธารณะในท้องถิ่นกับประโยชน์ที่จะได้รับของผู้รับบริการนวัตกรรมบริการสาธารณะของเทศบาลเมือง ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี พบว่า โดยภาพรวมการจัดทำนวัตกรรมการบริการสาธารณะในท้องถิ่นมีผลต่อประโยชน์ที่จะได้รับของผู้รับบริการนวัตกรรมบริการสาธารณะ ของเทศบาลเมือง ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมการปกครอง. (2559). ระบบสถิติทางการทะเบียน. เข้าถึงได้จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php

จรัส สุวรรณมาลา และคณะ. (2547). โครงการวิจัยเรื่องวิถีใหม่ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. โครงการวิจัยสถาบันวิถีใหม่ท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชลิดา ศรมณีและคณะ. (2555). การสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการสาธารณะโดยองค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อุมาพร กาญจนคลอด. (2558). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของประสิทธิผลในการจัดการนวัตกรรม หลักฐานเชิงประจักษ์ของเทศบาลในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-03-2023

How to Cite

บุญวิเศษ ส. (2023). สภาพนวัตกรรมการบริการสาธารณะและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อนวัตกรรมการบริการสาธารณะในเทศบาลเมือง ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 167–178. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.12

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)

หมวดหมู่