แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเขารวก อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • จิตรา หมั่นกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • กรุณา เชิดจิระพงษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • พิมพ์พจี บรรจงปรุ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.9

คำสำคัญ:

การจัดสวัสดิการสังคม, ผู้สูงอายุ, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเขารวก อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขารวก อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี จำนวน 196 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified sampling) โดยใช้ชื่อหมู่บ้านเป็นชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 5 คน ได้มาโดยคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ เชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเขารวก อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมมีการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง  6 ด้าน โดยด้านสุขภาพอนามัยและการรักษาพยาบาลมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านรายได้ และค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านนันทนาการ 2. แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเขารวก อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี พบว่า  ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเพื่อส่งเสริมสุขภาพให้ผู้สูงอายุ และจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ สนับสนุนการทำกิจกรรมร่วมกัน อย่างต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ด้านรายได้ ควรส่งเสริม สนับสนุนการรวมกลุ่ม การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับผู้สูงอายุ โดยจัดให้มีการอบรมอาชีพต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง  ด้านที่พักอาศัย ควรจัดหางบประมาณหรือตั้งงบประมาณในการก่อสร้างบ้านเอื้ออาทร หรือก่อสร้างซ่อมแซมที่พักอาศัยให้กับผู้ประสบปัญหา เพื่อให้ผู้สูงอายุมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงปลอดภัย  ด้านนันทนาการ ควรส่งเสริมการดำเนินงานของชมรม หรือกลุ่ม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงขีดจำกัดด้านสุขภาพร่างกาย ความพร้อม ความเหมาะสม และความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุเป็นหลักโดยจัดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว  ผู้ดูแล และการคุ้มครอง ควรพัฒนาครอบครัวให้เกิดความเข้มแข็ง  ส่งเสริมศักยภาพและรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุและคนในครอบครัว เน้นจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ของคนครอบครัวโดยจัดอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ด้านการสร้างบริการสังคมและเครือข่ายเกื้อหนุน  ควรจัดให้มีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชนครบทุกหมู่บ้าน จัดตั้งศูนย์อเนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่

Downloads

Download data is not yet available.

References

จุฑามาศ แสงสุข. (2564). ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์. (3)3.

จารุชา พานนนท์. (2555). ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตําบลสตึก อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญารัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ชญานุช หล่ออุดมทรัพย์. (2564). ศึกษาการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลเกษไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5(2).

เต็มดวง วงศา. (2564). ศึกษาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 13(2).

ปราณี แก้วอินธิ. (2561). ศึกษาระดับประสิทธิผลการจัดสวัสดิการสังคมของเทศบาลตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม. วารสารบัณฑิตศึกษา. 15(70).

ปิยะดา ภักดีอำนาจ และพรชัย ลิขิตธรรมโรจน์. (2557). แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา. วารสารวิทยาการจัดการ. 31(2).

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13.

แผนพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลเขารวก. (พ.ศ.2561-2565). องค์การบริหารส่วนตำบลเขารวก อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี.

พระมหาไพสิฐ อภิชาโน. (2563). ศึกษาการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. 15(1).

เพ็ญนภา เข็มตรง. (2561). สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยผลจากการสำรวจข้อมูลพบในปี 2564 ไทยจะเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์. NNT สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. พ.ศ. 2560. (6 เมษายน 2560, ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก)

สมจิตร์ ฤทธิ์รุ่ง. (2562). ศึกษาเรื่องการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 8(24).

สำนักข่าว Hfocus. (2558). เจาะลึกระบบสุขภาพโลกเข้าสู่ศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ. ออนไลน์

สิน พันธุ์พินิจ. (2555). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.

Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. Englewood Cliffs, New jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-03-2023

How to Cite

หมั่นกิจ จ., เชิดจิระพงษ์ ก., โชควรกุล เ., & บรรจงปรุ พ. (2023). แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลเขารวก อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 123–140. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.9

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)

หมวดหมู่