แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.3คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การเมือง, เทศบาลตำบลบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ เป็นต้น และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จากกลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง อายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 340 คน และผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ จำนวน 5 คน ได้มาแบบเจาะจง ได้แก่ 1) ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครราชสีมา 2) นายกเทศมนตรีตำบลเทพาลัย 3) ปลัดเทศบาลตำบลเทพาลัย 4) ผู้ใหญ่บ้าน บ้านถนนนางคลาน หมู่ที่ 10 ตำบลเทพาลัย และ 5) ผู้ใหญ่บ้าน บ้านใหม่สามัคคี หมู่ที่ 15 ตำบลเทพาลัย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้งอยู่ในระดับปานกลาง,ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง,ด้านการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมือง และด้านการจัดตั้งหรือเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน จำแนกตามอายุต่างกัน ระดับการมีส่วนร่วม ไม่ต่างกัน, จำแนกตามระดับการศึกษา และอาชีพ แตกต่างกัน ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ต่างกัน และ 3) แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ภาครัฐควรสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนช่วยกระจายข่าวให้สังคม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเคารพสิทธิเสรีภาพและกฎหมาย การรู้จักสิทธิเสรีภาพของตนเอง ส่งเสริมให้ปรึกษาหารือหาในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ตระหนักถึงบทบาทในการเสนอแนวทางแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างชุมชน อาทิ ร่วมเสนอหรือเป็นตัวกลางในการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างกัน ผู้นำควรแสดงออกในการแก้ไขปัญหาในชุมชน
Downloads
References
คงฤทธิ์ กุลวงษ์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบ่อ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 14(3) : 109-123.
จิรพงษ์ พัฒนประดิษฐ และคณะ. (2559). แนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองส่วนท้องถิ่น ของกรรมการชุมชนเทศบาลหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 3(1) : 130-139.
ณัทพงษ์ คันธรส และคณะ. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร อําเภอเมืองลําปาง จังหวัดลําปาง. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 4(1) : 4-15.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPPS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบัน.
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. (2542,17 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 114ก. น. 48.
โพธิ์คิน ขวาอุ่นหล้า และคณะ. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 12(2) : 354-366.
ภูริทัศน์ ชาติน้ำเพชร. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ. 2(1) : 1-44.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). [Online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament. สืบค้น 17 พฤษภาคม 2564
Almond, G. A. & Powell, B. G. (1967). The Civic Culture; political attitudes and democracy in five nations. Boston and Toronto: Little Brown and Company.