แนวทางการพัฒนาการใช้แอปพลิเคชัน “พ้นภัย” ในการปฏิบัติงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • รุ่งนภา พาระพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.5

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้, การยอมรับ, แอปพลิเคชัน, กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

บทคัดย่อ

          การศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้แอปพลิเคชัน “พ้นภัย” ในการปฏิบัติงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน 2) การยอมรับแอปพลิเคชัน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับแอปพลิเคชันกับระดับพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน และ 4) แนวทางพัฒนาการใช้แอปพลิเคชัน ในการปฏิบัติงาน

          วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาระดับพฤติกรรมการใช้ การยอมรับแอปพลิเคชัน และความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับแอปพลิเคชัน กับระดับพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา 113 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ขั้นตอนที่ 2 แนวทางการพัฒนาการใช้แอปพลิเคชัน ในการปฏิบัติงาน โดยผู้ให้ข้อมูล 3 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด 2) ภาพรวมการยอมรับแอปพลิเคชันอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับแอปพลิเคชันกับระดับพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันอยู่ในระดับต่ำ 4) แนวทางพัฒนาการใช้แอปพลิเคชันในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การจัดอบรมเพื่อทำความเข้าใจการใช้งานแอปพลิเคชันอย่างละเอียดและเกิดความชำนาญโดยผู้บังคับบัญชา กำหนดให้มีปลัดอำเภอประจำตำบลเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำในการใช้ ยกย่องเชิดชูเกียรติกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่ส่งคำร้องขอความช่วยเหลือผ่านแอปพลิเคชันให้ประชาชนที่ได้รับความช่วยเหลือทราบเพื่อทำให้เกิดความภาคภูมิใจ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมการปกครอง. (2563). การดำเนินงานตามโครงการขยายผลและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานระบบฐานข้อมูลภัยภิบัติและระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) เพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ระยะที่ 3. หนังสือกรมการปกครอง ที่ มท 0310.1/ว23394 ลงวันที่ 1 กันยายน 2563.

ชมพู วิพุธานุพงษ์. (2557). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

บัญชา หมั่นกิจการ. (2560). แบบจำลองเชิงโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับ เทคโนโลยีระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-payment) ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วิชาดา ไม้เงินงาม. (2562). พฤติกรรมและการยอมรับเทคโนโลยีการใช้บริการธนาคารบนโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2563). การฝึกการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการ. วารสารสาระภัย. 6(10) : 1.

สุจิตรา บุณยรัตพันธุ์. (2556). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.

สุภาวดี เชื้อวงษ์. (2557). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของ บุคลากรเทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ อำเภอเมืองชลบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

Davis, F.D. (1989). Perceived usefulness, perceives ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly. 13(3) : 319-339.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-02-2023

How to Cite

พาระพันธ์ ร., & โชควรกุล เ. (2023). แนวทางการพัฒนาการใช้แอปพลิเคชัน “พ้นภัย” ในการปฏิบัติงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 63–78. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.5

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)

หมวดหมู่