การออกแบบและจัดเรียงเสียงระฆังเป็นเสียงในทำนองสวดมนต์ ณ บริเวณสถูปบรรจุอัฐิพระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) วนอุทยานพนมสวาย ตำบลสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สันติ วิลัยสูงเนิน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.14

คำสำคัญ:

ระฆัง, วนอุทยานพนมสวาย, สถูปบรรจุอัฐิพระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล), ออกแบบและจัดเรียงเสียงระฆังเป็นเสียงในทำนองสวดมนต์

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบและจัดเรียงเสียงระฆังเป็นเสียงในทำนองสวดมนต์ ณ บริเวณสถูปบรรจุอัฐิพระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) ผลการวิจัย พบว่า การจัดสร้างระฆัง ณ วนอุทยานเขาสวาย จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2550 วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง เพื่อเป็นการเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา รัชกาลที่ 9 ระฆังบริเวณสถูปบรรจุอัฐิพระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) มีจำนวนทั้งสิ้น 432 ใบ คลื่นความถี่เสียงของระฆังจำนวน 432 ใบ พบว่ามีระฆังที่ไม่สามารถวัดคลื่นความถี่ได้จำนวน 19 ใบ และอีก 413 ใบมีคลื่นความถี่เสียงตั้งแต่ 130 เฮิรตซ์จนกระทั่งถึง 354 เฮิรตซ์ คุณภาพระฆัง สามารถจำแนกได้ออกเป็น 3 ประเภท 1) ชำรุด 19 ใบ 2) พอใช้ 145 ใบ 3) ดี 268 ใบ

          การออกแบบเสียงระฆัง ผู้วิจัยออกแบบโดยใช้บทสวดมนต์ 5 บท คือ บทบูชาพระรัตนตรัย, บทกราบพระรัตนตรัย, บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า, บทสวดไตรสรณคมน์, บทสวดพุทธานุสสติและบทอนุโมทนาบุญ เมื่อนำมาอ่านทีละพยางค์จะได้จำนวน 202 คำ จึงออกแบบโดยใช้ระฆัง 1 ใบเท่ากับ 1 เสียง ดังนั้นจึงใช้ระฆังทั้งสิ้นในการออกแบบ 202 ใบ แต่ด้วยข้อจำกัดของการวิจัย จำนวนของระฆังและระดับเสียงของระฆังที่ไม่เท่ากัน ผู้วิจัยใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยการ Move DO (มูฟโด) ส่งผลให้ในแต่ละบทสวดมนต์จึงอาจจะมีคลื่นความถี่เสียงที่ไม่เท่ากัน

          การจัดเรียงระฆัง ผู้วิจัยใช้วิธีการจัดเรียงตามทิศทักษิณาวรรต โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ 1) การจัดเรียงระฆังตามเสียงในทำนองสวดมนต์ 2) การจัดเรียงระฆังที่ไม่เกี่ยวข้องกับเสียงในทำนองสวดมนต์ ผลการประเมินงานวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน 1) นายสุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ 2) รศ.ดร.อัศนีย์ เปลี่ยนศรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  3) ผศ.ชัชวาล สนิทสันเทียะ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ทั้ง 3 ท่านให้ผลประเมินงานวิจัยอยู่ที่ 83.3 เปอร์เซ็นต์

Downloads

Download data is not yet available.

References

KomChadLuekOnline. (2553). เสียงกลองเสียงระฆัง เสียงแห่งสัญลักษณ์..."วิถีพุทธ-วิถีไทย". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.komchadluek.net/amulet/74793. สืบค้น 12 พฤษจิกายน 2564.

MGR Online. (2551). ขึ้นเขาสวาย ไหว้ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์เมืองสุรินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://mgronline.com/travel/detail/9510000035302. สืบค้น 1 พฤษจิกายน 2564.

กัลยาณมิตรเพื่อนแท้สำหรับคุณ. (2556). บทสวดมนต์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5435. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2564.

ชมรมสร้างพระประธาน และหนังสือพระไตรปิฎก. (2558). อานิสงส์ของการสร้างระฆัง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.sarakuntho.org. สืบค้น 12 ธันวาคม 2564,

ชัชวาล สนิทสันเทียะ. (2565, มกราคม 19). สัมภาษณ์.

เทพ สงวนกิตติพันธุ์. (2543). ความเชื่อ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.stou.ac.th/Offices/rdec/udon/upload/socities9_10.html. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2564.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2564). การแพร่กระจายทางวัฒธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/35. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2564.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2564). แนวคิดทางมานุษยดนตรีวิทยา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/11. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2564.

ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์.(2564). ดนตรีวิเคราะห์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/site/music23101/dntri-wikheraah. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2564.

พระชลญาณมุนี (สมโภช ธมฺมโภชฺโช). (2563). พระพุทธศาสนากับความเชื่อ. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. 6(2) : 99-114.

พระมหาสำราญ ฐานุตฺตโม (ประเสริฐซึ้ง). (2562). การจัดการวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิตพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุริยา มะสันเทียะ. (2563). กลยุทธ์ที่ส่งเสริมคุณค่าการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในเกาะรัตนโกสินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 14(1) : 42-53.

พระศรีสังคม ชยานุวฑฺโฒ (ธนาวงษ์). (2562). การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา : รูปแบบและเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวของวัดในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิตพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัชรินทร์ บุญเทียม. (2553). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2564). พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/พระราชวุฒาจารย์_(ดูลย์_อตุโล). สืบค้น 30 พฤศจิกายน 2564.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). คลื่นเสียงและการได้ยินเสียง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://ngthai.com/science/24180/soundwave/2/. สืบค้น 12 พฤศจิกายน2564.

สมพจน์ สุขาบูลย์. (2549). รูปแบบศิลปกรรมของหอระฆังสมัยรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุรินทร์. (2564). ประวัติความเป็นมาวนอุทยานพนมสวาย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://surin.mots.go.th/news_view.php?nid=331. สืบค้น 1 ธันวาคม 2564.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุรินทร์. (2564). สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://surin.mots.go.th/more_news.php?cid=7. สืบค้น 1 ธันวาคม 2564.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์. (2564). ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสุรินทร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.m-culture.go.th/surin/ewt_news.php?nid=64. สืบค้น 1 ธันวาคม2564.

สุวพงศ์ กิติภัทย์พิบูลย์. (2565, มกราคม 15). สัมภาษณ์.

อัศนีย์ เปลี่ยนศรี. (2565, มกราคม 17). สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-04-2023

How to Cite

วิลัยสูงเนิน ส. (2023). การออกแบบและจัดเรียงเสียงระฆังเป็นเสียงในทำนองสวดมนต์ ณ บริเวณสถูปบรรจุอัฐิพระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) วนอุทยานพนมสวาย ตำบลสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 193–206. https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.14