การบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพไทยในวิกฤติการระบาดของโรคโควิด-19

ผู้แต่ง

  • คมสัณห์ ฐานะโชติพันธุ์
  • กมลพร กัลยาณมิตร
  • สถิตย์ นิยมญาติ
  • ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ระบบบริการสุขภาพไทย, วิกฤติโรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพไทยในวิกฤติการระบาดของโรคโควิด-19 และ (2)  เพื่อศึกษาการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพไทยในวิกฤติการระบาดของโรคโควิด-19 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องที่ศึกษานี้  ได้แก่ ผู้บริหารภาครัฐระดับนโยบาย แพทย์ พยาบาล นักวิชาการ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนทั่วไป  เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์  โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก  และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการสรุปความแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า  (1) ปัญหาและอุปสรรคของการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพไทยในวิกฤติการระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า จำนวนผู้ป่วยที่ยังเพิ่มมากขึ้นทำให้มีปัญหาสถานที่ในการดูแลรักษาพยาบาลไม่เพียงพอ การขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการรักษาและปฏิบัติงาน การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ การไม่ให้ความร่วมมือของผู้ป่วย การขาดความรู้ในการปฏิบัติงานบุคลากร การประสานงานระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เกิดปัญหาข้อขัดแย้งทำ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข และความไม่เชื่อมั่นในการฉีดวัคซีน  และ  (2)  การบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพไทยในวิกฤติการระบาดของโรคโควิด-19  ด้านนโยบาย มีการดำเนินนโยบายที่ต้องมีความเหมาะสม ยืดหยุ่น สอดคล้องกับสถานการณ์และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  ด้านการบริหารจัดการ  มีการนำนโยบายของกระทรวงไปปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ในรูปแบบ One stop service   ด้านบุคลากร  มีการแบ่งการทำงานตามสถานการณ์ การจัดสรรกำลังคนเน้นความเหมาะสมกับภาระงานที่ต้องทำและจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 มีการสร้างความรู้และเข้าใจในการปฏิบัติงานแก่บุคลากร  ด้านงบประมาณ   มีการอนุมัติงบประมาณสนับสนุนในด้านต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงานและการบริหารค่าตอบแทน  ด้านวัสดุ/อุปกรณ์  มีการจัดสรรวัสดุอุปกรณ์ ยา เวชภัณฑ์ในการป้องกันและดูแลรักษา มีการกำหนดวิธีการ หลักเกณฑ์  และกระจายไปให้ภาคส่วนต่าง ๆ ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน  ด้านสถานที่  ขณะที่โรคระบาดอย่างรวดเร็ว โรงพยาบาลไม่เพียงพอต่อการรองรับผู้ป่วยโควิด-19 จึงต้องจัดเตรียมสถานที่ไว้ในรูปแบบของโรงพยาบาลสนาม 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-11-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)