รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลปะอาว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
DOI:
https://doi.org/10.14456/jlgisrru.2023.7คำสำคัญ:
รูปแบบ, การบริหารจัดการ, ขยะมูลฝอยชุมชนบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลปะอาว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ 2.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลปะอาว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ และ3. เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลปะอาว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือหัวหน้าครัวเรือนจำนวน 303 ครัวเรือน และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัย สภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายในครัวเรือนพบว่า ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจมาก ถังขยะที่รองรับในบ้านส่วนใหญ่ไม่มีฝาปิด มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง มีการเก็บส่งให้รถเก็บขยะ และสมาชิกในครัวเรือนมีส่วนร่วมในการช่วยจัดการขยะมูลฝอย ด้านประสิทธิภาพของการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การลดปริมาณขยะ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การนำวัสดุหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ การบริหารจัดการขยะมูลฝอยด้านอื่นๆ และการนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ ตามลำดับ รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน 1.ศึกษาดูงานท้องถิ่นต้นแบบ 2. การจัดประชุมคณะทำงาน 3. จัดทำโครงการประชารัฐร่วมใจ 4. การออกให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคัดแยกขยะ 5. จัดทำผ้าป่าขยะ และ 6. ดำเนินการออกรับซื้อขยะรีไซเคิล
Downloads
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2551). สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี2550. กรุงเทพฯ : กชกรพับลิชชิง.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2551). คู่มือการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพัฒนพงศ์ ฐานิวัฒนานนท์ (2560). แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในตำบลบางชนะ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี.
วสันต์ ศรีโยธี. (2563). รูปแบบพัฒนาพฤติกรรมการจัดการขยะของประชาชน ในเขตอำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เสาวลักษณ์ ศักดิ์สิทธิ์ (2560). แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Bloom, B. S. (1962). Taxonomy of Educational Objectives Book 1: Cognitive.
Gershon, Peter. (2004). Releasing resources to the front line. Independent Review of Public Sector Efficiency. Published with the permission of HM Treasury on behalf of the Controller of Her Marjesty’s Stationery Office. (The Stationery Office.)
Minn, Z. et al. (2010). Promoting People’s Participation in Solid Waste Management in Myanmar. Research Journal of environmental Sciences. 4(3) : 209-222.
Herbert A. Simon. (1960). The New Science of Management Decision. Michigan: Harper & Row.
Kumar, K. N., & Goel, S. (2009). Characterization of Municipal Solid Waste (MSW) and a Proposed Management Plan for Kharagpur, West Bengal, India. Resources, Conservation and Recycling. 53(3) : 166-174.