การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ณัฐสิทธิ์ ชินวงค์ -
  • อำนวย ทองโปร่ง

คำสำคัญ:

การบริหารความขัดแย้ง, การรับรู้ของครู, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ จำนวน 333 คน โดยใช้ตาราง Cohen, Manion and Morrison เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ หากมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

        ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ของครูต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ของครูที่มีต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ พบว่า ครูที่มีระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมีการรับรู้ต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และ 3) ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ของครูที่มีต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ พบว่า ครูที่มีขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีการรับรู้ต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการประนีประนอม ด้านการยอมให้ และด้านการร่วมมือไม่แตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-11-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)