การพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผา ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจให้กับชุมชน

ผู้แต่ง

  • Chot Bodeerat
  • Kampanart Wongwatthonaphong
  • Tanastha Rojanatrakul
  • Wongsakon Jaimpao
  • Pattanaphan Khetkan
  • Kanjana Hroida
  • Peangta Chumnoi
  • Nareekarn Aphiraknukunchai
  • Arisata Tasa

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาท้องถิ่น, เครื่องปั้นดินเผา, ตำบลเมืองเก่า, การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผา เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผา และเพื่อศึกษาการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์การพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผา เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจให้กับชุมชน ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 400 คน และเชิงคุณภาพ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา โดยใช้ความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการตีความเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานการพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการผลิต ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านทรัพยากร 2) แนวทางการพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผา พบว่า ด้านทรัพยากร ส่วนใหญ่ใช้ทรัพยากรที่หาได้ในท้องถิ่น ด้านกระบวนการผลิต การวาดลวดลายเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้งานของแต่ละกลุ่มมีความโดดเด่นที่ไม่เหมือนกัน ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่ลวดลายจะเป็นรูปปลา รูปช้าง และรูปดอกบัว ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์ประจำจังหวัดสุโขทัย ด้านการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ มีการพัฒนาเครื่องมือ/อุปกรณ์ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาให้มีคุณภาพมากกว่าเดิม ด้านการส่งเสริมการตลาดมีการจำหน่ายเครื่องปั้นดินเผาไปตามจังหวัดต่าง ๆ และผ่านตัวแทน 3) การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางการพัฒนารูปแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเครื่องปั้นดินเผา พบว่า ด้านทรัพยากร ดินที่นำมาใช้ในการปั้นต้องเป็นดินเหนียวที่ไม่มีวัชพืชหรือกรวดทรายปน ด้านกระบวนการผลิต มีการเตรียมดิน การผลิตชิ้นงาน ขั้นตอนการตกแต่งเคลือบเผา  ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทีมวิจัยได้ออกแบบลวดลายเครื่องปั้นดินเผา มี 2 ชิ้นงาน คือ จาน ออกแบบเป็นรูปปลาตะเพียนและวัดศรีชุม ส่วนแก้ว ออกแบบเป็นรูปช้างและรูปนกแก้ว ด้านการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ มีการออกแบบเครื่องปั้นดินเผาลวดลายใหม่ พร้อมทั้งจัดทำบรรจุภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ได้ทำการประชาสัมพันธ์เครื่องปั้นดินเผาผ่านทางช่องทางสื่อออนไลน์ ๆ สร้างเพจในเฟสบุ๊ค

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)