ผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อทักษะการคิดยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • พิมฤทัย ท้าวฟองคำ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0002-7079-4777
  • ปัทมาวดี เลห์มงคล ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0007-7923-051X
  • อรพรรณ บุตรกตัญญู ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ https://orcid.org/0009-0005-1647-8812

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282253

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา, ทักษะการคิดยืดหยุ่น, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา ได้บูรณาการในลักษณะข้ามสาระวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กมีความรู้พื้นฐาน และมีทักษะกระบวนการที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ช่วยกระตุ้นความสนใจทำให้เด็กอยากลองปฏิบัติด้วยตนเอง อยากมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ทำให้เด็กมีทักษะการยืดหยุ่นทางความคิดของเด็กปฐมวัยเป็นการใช้กระบวนการคิดไปตามเรื่องราวที่เด็กได้ลงมือทำกิจกรรม พลิกแพลง ปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เข้ากับสถานการณ์

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิด สะเต็มศึกษาที่มีต่อทักษะการคิดยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัย และเพื่อเปรียบเทียบ ทักษะการคิดยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัย ชายและหญิง อายุ 4 ถึง 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล ปีที่ 2 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา จำนวน 24 แผน 2. แบบประเมินทักษะการคิดยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัย 3. แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการคิดยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัย

ผลการวิจัย: (1) ผลการศึกษาทักษะการคิดยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัย ก่อนการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.37 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 1.22 และหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.56 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 1.40 คะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัยโดยรวมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง แสดงให้เห็นว่าเด็กมีการพัฒนาทักษะการคิดยืดหยุ่นที่ดีขึ้น (2) เด็กปฐมวัยมีค่าเฉลี่ยทักษะการคิดยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัย หลังการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนประเมินทักษะการคิดยืดหยุ่น ด้านการเลือกวิธีการแก้ปัญหามีค่าเฉลี่ยก่อนการทดลองเท่ากับ  4.75 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.88 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.18 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 1.03 ด้านรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีค่าเฉลี่ยก่อนการทดลองเท่ากับ  4.62  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  0.69  และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.37 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  0.85 คะแนน สะท้อนให้เชื่อว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริม การคิดยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัยได้

สรุปผล: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าทักษะการคิดแบบยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากเข้าร่วมการศึกษาที่เน้น STEM คะแนนเฉลี่ยโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 9.37 เป็น 16.56 ซึ่งบ่งชี้ถึงการพัฒนาทักษะการคิดอย่างชัดเจน โดยเฉพาะทักษะการแก้ปัญหา การฟัง และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของเด็กดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 4.75 เป็น 8.18 และ 4.62 เป็น 8.37 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้น STEM ช่วยส่งเสริมการคิดแบบยืดหยุ่นในวัยเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ณัฐนิชา ศรีละมัย. 2561. ผลการใช้การเรียนรู้แบบโครงงานสะเต็มเพื่อส่งเสริมทักษะศตวรรษที่ 21 ในนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์. 26 (2),11-19.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล และคณะ. 2060. การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย. Retrieved from: http://kb.hsri.or.th/dspace/ handle/ 11228/4650

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุภาวดี หาญเมธี. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

อารีย์ ชูมณี. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ และมนุษยสัมพันธ์. ปริญญานิพนธ์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Chutabhakdikul, N., Thanasetkorn, P., Lertawasdatrakul, O., & Ruksee, N. (2017). Tool Development and Evaluation Criteria for Assessment of Executive Function in Early Childhood. Health System Research Institute and the Institute of Molecular Biosciences, Mahidol University

Gioia, G. A., Isquith, P. K., Guy, S. C., and Kenworthy, L. (2000). Professional Manual Behavior Rating Inventory of Executive Function. Florida: PAR

Jatisathien, C., Meesasan, K., & Chaikarn, A. (2017). Early Childhood Development. Holistically Bangkok: Plus Press

Learn Education (2564). ONLINE BLENDED Learning Solution. Retrieved from: https://www.learneducation.co.th/

MacDonald et. al. (2015). STEM Education: A review of the Contribution of the Disciplines of Science, Technology, Engineering and Mathematics. Science Education International, 27 (4), 530-569.

Scott. (2017). 21st Century Skills Early Learning. Atlanta. Prophet 21. Retrieved January 20, 2021, from: http://static.battelleforkids.org/documents/p21/P21_ELF_Framework_Final_20pgs.pdf

Scott. (2019). 21st Century Learning For Early Childhood. Learn more and get involved at Battelleforkids.org/networks/p21.

Vygotsky, L.S. (1978). Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes. Cambridge: Harvard University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-10

How to Cite

ท้าวฟองคำ พ., เลห์มงคล ป. ., & บุตรกตัญญู อ. . (2025). ผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อทักษะการคิดยืดหยุ่นของเด็กปฐมวัย. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 923–936. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282253

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ