เกี่ยวกับวารสาร

Interdisciplinary Academic and Research Journal
Old ISSN 2774-0374 (Online) : New ISSN 2985-2749 (Online)
Crossref Member name: Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion
DOI prefix (Crossref): 10.60027
 Doi Prefix (DataCite): 10.14456

นโยบายการเผยแพร่ - จุดมุ่งหมายและขอบเขต
Interdisciplinary Academic and Research Journal (วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัย บทความวิชาการ บทความปริทัศน์ บทวิจารณ์หนังสือในขอบข่าย ดังนี้
- สังคมศาสตร์ทั่วไป
- การศึกษา
- รัฐประศาสนศาสตร์
- การบริหารธุรกิจ
- รัฐศาสตร์
- ศาสนา ปรัชญา
- การพัฒนา
- นิติศาสตร์
- ภาษาศาสตร์
- รวมถึงสหวิชาการอื่นๆ
 
บทความที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) อย่างน้อย 2 ถึง 3 ท่าน ในรูปแบบ Double-Blind Peer Review  พิจารณาตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความวารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะของกองบรรณาธิการ ไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
 

ประเภทบทความที่รับพิจารณาเพื่อเผยแพร่

1.บทความวิจัย (Research Article) คือ รายงานผลการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย หรือ การพัฒนาอย่างเป็นระบบ

2.บทความวิชาการ (Academic Articles) คือ ผลงานการเขียนเรื่องที่น่าสนใจซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอเป็นความรู้ใหม่โดยมีการใช้แนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นแหล่งข้อมูล

3.บทความปริทัศน์ (Review Article) คือ บทความที่มีการผสมผสานแนวคิด ทฤษฎี และผลการวิจัยหลายเรื่องซึ่งผู้เขียนจะสังเคราะห์วรรณกรรมเหล่านั้นเพื่อประมวลเป็นข้อสรุปหรือข้อโต้แย้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นการทบทวนการก้าวหน้าทางวิชาการของเรื่องนั้นๆ

กำหนดการเผยแพร่

Interdisciplinary Academic and Research Journal เป็นวารสาร ราย 2 เดือน (ปีละ 6 ฉบับ)

ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์  

ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน  

ฉบับที่ 3 พฤษภาคม – มิถุนายน  

ฉบับที่ 4 กรกฎาคม – สิงหาคม 

ฉบับที่ 5 กันยายน – ตุลาคม 

ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน – ธันวาคม 

 

เกณฑ์การพิจารณาและคัดเลือกบทความ

บทความแต่ละบทความจะได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จำนวน 2 ถึง 3 คน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบข้อมูลของผู้เขียนบทความ เช่น ชื่อหรือประวัติการทำงาน และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double-Blind Peer Review)

บทความที่ส่งมาขอเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความของวารสาร และต้องให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดไว้

ทรรศนะและความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือทรรศนะความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ

 

ประวัติของวารสาร

Interdisciplinary Academic and Research Journal  (วารสารวิชาการและวิจัยสหวิทยาการ) ISSN 2774-0374 (ออนไลน์) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2564 โดยสถาบันพัฒนาและส่งเสริมวิชาการ DR.KEN ประเทศไทย จัดพิมพ์ปีละ 6 ฉบับ (2 เดือนต่อหนึ่งฉบับ)

  • วารสารวารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ (Interdisciplinary Academic and Research Journal ) เริ่มพัฒนาขึ้น ปี 2563 โดยจัดทำเป็นแบบจัดพิมพ์รูปเล่ม (Hard copy) ออก 2 ฉบับต่อปี คือ ฉบับปฐมฤกษ์ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2563) และ ฉบับปฐมฤกษ์ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563) แต่ไม่นำเขาระบบ ThaiJo
  • พ.ศ.2564 ได้ปรับปรุงการจัดพิมพ์ออกเป็น 6 ฉบับต่อปีเพื่อให้มีคุณสมบัติที่จะยืนให้ TCI รับรองมาตรฐาน
  • ปรากฏในฐานข้อมูล google scholar ตั้งแต่ปี 2564
  • พ.ศ. 2564 ได้รับการระบุวัตถุดิจิทัล (DOIs)  ในฐานข้อมูล DataCite 
  • พ.ศ. 2565 ผ่านการประเมินเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI (Thai-Journal Citation Index Center)  Tier 2 เมื่อ มิถุนายน 2565 และมีผลให้บทความที่เผยแพร่ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 อยู่ในฐานข้อมูล TCI Tier 2 
  • ปี 2566 Interdisciplinary Academic and Research Journal  (วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ) ได้ทำการปรับรูปแบบการพิมพ์เพื่อให้รูปแบบการพิมพ์มีความเป็นสากลซึ่งเริ่มใช้ในปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ถึง ปีที่ 3 ฉบับ 6 
  • จากฉบับปีที่ 3 ฉบับที่ 6 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2566) Interdisciplinary Academic and Research Journal  (วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ) ได้ทำการปรับรูปแบบการพิมพ์เพื่อให้รูปแบบการพิมพ์มีความเป็นสากลโดยการปรับรู้แบบการเขียนบทคัดย่อ ซึ่งเริ่มใช้ในปีที่ 3 ฉบับที่ 6 เป็นต้นไป 
  • 13 พฤศจิกายน 2566 Interdisciplinary Research and Academic Journal เปลี่ยน ISSN จาก 2774-0366 เป็น 2985-2749 จากเล่ม 3 ฉบับที่ 6 เป็นต้นไป
  • 13 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ ได้ปรับปรุงชื่อวารสารโดยใช้ชื่อ "Interdisciplinary Research and Academic Journal" เฉพาะภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียว 
  • ปี 2566 the Interdisciplinary Research and Academic Journal ตั้งแต่เล่มปีที่ 3 ฉบับที่ 6 เป็นต้นไป วารสารได้ใช้ Digital object identifiers (DOIs) ของ Crossref DOI
  • ปี 2567 Interdisciplinary Academic and Research Journal  ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเขียนการอ้างอิงเป้นแบบ APA Style Version 7  [

    https://apastyle.apa.org/instructional-aids/reference-examples.pdf]  ผู้เขียนสามารถเรียนรู้วิธีการตั้งค่า APA Style Version 7 ได้จากศูนย์นวัตกรรมการศึกษาด้านสื่อสิ่งพิมพ์และออนไลน์ คณะศึกษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • ในปี 2567 ปรากฏในฐานข้อมูลของ ResearchGate, SEMANTIC SCHOLAR, SciSpace Open AI
  • 4 กุมภาพันธ์ 2568, Interdisciplinary Academic and Research Journal ได้รับการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 5 (รับรองคุณภาพวารสารเป็นเวลา 5 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2568-2572) ที่ระดับ Tier 2

นโยบายการลอกเลียนแบบ

Interdisciplinary Academic and Research Journal  (วารสารวิชาการและวิจัยสหวิทยาการ) เป็นส่วนหนึ่งของฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ซึ่งมีระบบ CopyCatch สำหรับตรวจสอบการคัดลอกผลงาน ต้นฉบับทั้งหมดที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์จะได้รับการตรวจสอบการคัดลอกผลงานภายใน 24 ชั่วโมง หากมีการระบุการลอกเลียนแบบโดยกองบรรณาธิการ บรรณาธิการ และผู้ประเมินบทความ ฯลฯ ในขั้นตอนใดๆ ของบทความก่อนหรือหลังกระบวนการตรวจสอบโดยผู้ประเมินบทความในกรณีนั้น เราจะแจ้งผู้ประพันธ์ให้รับทราบเพื่อขอให้เรียบเรียงเนื้อหาในบทความหรือการอ้างอิงจากที่คัดลอกมา หากมีการคัดลอกเนื้อหามากกว่า 15% บทความอาจถูกแนะนำให้เขียนใหม่หรือปฏิเสธ และแจ้งให้ผู้เขียนทราบทันที

 

นโยบายการการประเมินบทความ

บทความวิจัยและบทความทุกประเภทที่ตีพิมพ์ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal  (วารสารวิชาการและวิจัยสหวิทยาการ) จะได้รับพิจารณากลุ่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวข้อง กระบวนการกลุ่นกรองจะใช้แบบปกปิดสองทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่ประเมินบทความอย่างน้อยสองในสามคน การเลือกผู้ทรงคุณวุฒิมีความสำคัญต่อกระบวนการตีพิมพ์ซึ่งจะพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ รวมถึงความเชี่ยวชาญ ชื่อเสียง คำแนะนำที่เฉพาะเจาะจง ผลประโยชน์ทับซ้อน และผลงานที่ผ่านมา ความรวดเร็ว ความละเอียดถี่ถ้วน การใช้ดุลพินิจผลอย่างมีเหตุผล และความเป็นกัลยาณมิตร กระบวนการประเมินจะไม่ควรมีการติดต่อกันโดยตรงระหว่างผู้เขียนและผู้ประเมินบทความซึ่งบรรณาธิการจะเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร

 

กระบวนการประเมินบทความ (Peer Review Process)

กระบวนการพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal  (วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1.การตรวจสอบบทความเบื้องต้นโดยกองบรรณาธิการ (1 สัปดาห์):

บทความที่ถูกส่งเข้ามาจะได้รับการตรวจสอบความสมบูรณ์โดยกองบรรณาธิการ ดังนี้

  • รูปแบบการจัดหน้า
  • การใช้ภาษา
  • การคัดลอกเลียนแบบ (ไม่เกินร้อยละ 15)
  • ความเพียงพอและความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการอ้างอิง
  • รูปแบบการเขียนอ้างอิง
  • ความซ้ำซ้อน

หากบทความดังกล่าวมีรูปแบบไม่เป็นไปตามที่วารสารฯ กำหนด หรือมีอัตราการซ้ำซ้อนสูงกว่าที่วารสารฯ กำหนด กองบรรณาธิการจะไม่รับบทความดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพิจารณาซึ่งจะแจ้งผู้ประพันธ์ให้รับทราบต่อไป

2.การพิจารณาความถูกต้อง-เหมาะสม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (1-2 สัปดาห์): 

บทความที่ผ่านการพิจารณาขั้นที่ 1 แล้ว กองบรรณาธิการจะพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ถึง 3 คน เพื่อพิจารณาบทความดังกล่าวในรูปแบบ Double-Blind ก่อนดำเนินการทาบทาม และจัดส่งบทความแก่ผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป โดยระดับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจะประกอบด้วย

2.1 สมควรได้รับการตีพิมพ์ (Accept)

2.2 สมควรได้รับการตีพิมพ์ โดยต้องมีการปรับแก้ไขเล็กน้อย (Accept with minor revision)

2.3 สมควรได้รับการตีพิมพ์ โดยต้องมีการปรับแก้ไขอย่างมาก (Accept with major revision)

2.4ไม่สมควรได้รับการตีพิมพ์ (Reject)

3.การพิจารณาผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (1 สัปดาห์):

เมื่อกองบรรณาธิการได้รับผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิครบถ้วนแล้ว จะดำเนินการพิจารณาและสรุปผลอีกครั้ง โดยบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ ต้องได้รับผลเป็น Accept หรือ Accept with minor revision ส่วนบทความที่ได้รับผลเป็น Accept with major revision บรรณาธิการจะเป็นผู้พิจารณาชี้ขาด และบทความที่ได้รับผลเป็น Reject จะไม่ได้รับการอนุมัติให้ตีพิมพ์ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal

4.การปรับแก้(1-3 สัปดาห์):

บทความที่ได้รับการอนุมัติให้ตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้เขียนดำเนินการปรับแก้ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ และความคิดเห็นเพิ่มเติมจากกองบรรณาธิการ (ถ้ามี) โดยผู้เขียนต้องดำเนินการแก้ไขให้ครบถ้วน และชี้แจงการปรับแก้ แล้วส่งบทความที่ปรับแก้แล้ว และเอกสารชี้แจงการปรับแก้กลับมายังกองบรรณาธิการภายในเวลาที่กำหนด

5.การพิจารณาบทความฉบับปรับแก้ (1 สัปดาห์):

เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความที่ปรับแก้แล้ว จะดำเนินการพิจารณาความถูกต้องอีกครั้ง หากบทความดังกล่าวได้รับการแก้ไขครบถ้วน จะรับรองการตีพิมพ์ และนำเข้าสู่กระบวนการจัดอาร์ตเวิร์คต่อไป

 

ค่าตีพิมพ์

มีค่าดำเนินการหรือค่าธรรมเนียมในการส่งและเผยแพร่บทความใน Interdisciplinary Academic and Research Journal

 

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

ผู้เขียนบทความต้องชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการถือเป็นค่าธรรมเนียมการประมวลผลบทความ (APCs)  อัตราเรื่องละ 4,500 บาท (สี่พันห้าร้อยบาทถ้วน)  โดยชำระค่าธรรมเนียมดำเนินการภายหลังจากได้รับแจ้งผลการพิจารณากลั่นกรองบทความเรียบร้อยแล้ว  สามารรถชำระเงินที่

ธนาคาร “กรุงไทย” เลขที่บัญชี  “476-0-46475-1” สาขา “มหาสารคาม” ชื่อบัญชี  “น.ส.สุพิน ปางลิลาศ “

หรือ

ธนาคาร “กสิกรไทย”  เลขที่บัญชี  913-2-08154-6 สาขา “เสริมไทยคอมเพลค” ชื่อบัญชี  “น.ส.สุพิน ปางลิลาศ”

ทั้งนี้เริ่มเก็บค่าธรรมเนียม จากผู้เขียนที่ submission บทความตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป

การแจ้งผลการชำระค่าธรรมเนียม เมื่อผู้เขียนได้ชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว ขอความกรุณาให้แจ้งรายละเอียดผลการชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ โดยการกรอก แบบฟอร์มในที่ลิงค์นี้ [เช่น ชื่อ, ที่อยู่, เบอร์โทร, อิเมล, สลิปที่โอนเงิน ฯลฯ] ทั้งนี้เพื่อฝ่ายการบัญชีจะได้มองเห็นผลการชำระค่าธรรมเนียมอย่างทันถ่วงที อย่างไรก็ตามค่าธรรมเนียมการประมวลผลบทความ (APCs) ที่ชำระเรียบร้อยแล้ว วารสารจะไม่คืนให้กับผู้ประพันธ์ไม่ว่ากรณีใดใด

แสกนเพื่อติดต่อประสานงานทางไลน์แอปปริเคชัน

 

คำชี้แจงการเข้าถึง (Open Access Statement)

Interdisciplinary Academic and Research Journal  (วารสารวิชาการและวิจัยสหวิทยาการ) มียินดีต่อการเข้าถึงแบบเสรีกับผลงานทางวิชาการ อนุญาตให้ผู้ใช้อ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังเนื้อหาทั้งหมดของบทความ และนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่น ๆ บทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้สามารถเข้าถึงได้ฟรีทันทีนับจากวันที่เผยแพร่ ไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมใด ๆ สำหรับผู้อ่านในการดาวน์โหลดบทความสำหรับใช้ทางวิชาการของตนเอง วารสารดำเนินการภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License ซึ่งอนุญาตให้ทำซ้ำบทความได้ฟรี สำหรับการใช้งานที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์เท่านั้น และมีข้อมูลการอ้างอิงที่เหมาะสม ผู้เขียนทุกคนที่ตีพิมพ์กับ Interdisciplinary Academic and Research Journal  (วารสารวิชาการและวิจัยสหวิทยาการ) ยอมรับข้อกำหนดเหล่านี้เป็นเงื่อนไขในการตีพิมพ์

ข้อมูลลิขสิทธิ์

บทความที่ตีพิมพ์ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal  (IARJ) ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร บทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ใน IARJ แล้ว จะต้องไม่ปรากฏในสิ่งพิมพ์อื่นใดก่อนที่จะปรากฏใน  IARJ กองบรรณาธิการจะส่งลิงค์วารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียนหรือหากผู้เขียนต้องการบทความที่ตีพิมพ์สามารถดาวน์โหลด หรือสั่งพิมพ์ได้ที่เว็บไซต์ของ Interdisciplinary Academic and Research Journal  

การอนุญาตลิขสิทธิ์
การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้รายใดก็ตามที่จะอ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังข้อความทั้งหมดของบทความ รวบรวมข้อมูลสำหรับการจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือมีเจตนาเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจใดๆ เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า (Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License

 

เจ้าของและการบริหารจัดการ

สถาบันส่งเสริมและพัฒนาวิชาการดอกเตอร์เคน
เลขที่ 139/26 ถนนถีนานนท์ ตำบล ตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000
Tel: +6681-741-3978
Email: dr.keninstitute@gmail.com
Facebook: https://www.facebook.com/Dr.keninstitute