ผลของแบบประเมินการเขียนโดยเพื่อนและตนเอง (Peer and Self Editing Checklist) ที่มีต่อข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนในรายวิชาการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.280564คำสำคัญ:
ทักษะการเขียน, การเขียน, หลักการเขียน, ภาษาอังกฤษ, แบบประเมินการเขียนบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: รายการตรวจสอบการแก้ไขของเพื่อนร่วมงานและตนเองส่งเสริมการคิดวิเคราะห์เชิงวิพากษ์และใส่ใจในรายละเอียด ช่วยให้นักเขียนระบุข้อผิดพลาดและปรับปรุงผลงานของตนเองได้ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการทำงานร่วมกันและปรับปรุงทักษะการเขียนด้วยการให้ข้อเสนอแนะเชิงสร้างสรรค์แก่เพื่อนร่วมงาน ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน เครื่องมือในการประเมินทักษะการเขียนภาษาอังกฤษตามหลักการเขียนที่ถูกต้อง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 22 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสุรวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ระเบียบวิธีการวิจัย: มีรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยทำการเลือกกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยโดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) มาจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 22 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสุรวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นำมาทดลองโดยใช้แผนการเรียนรู้จำนวน 3 แผน และทำการทดสอบโดยใช้แบบประเมินการเขียนโดยเพื่อนและตนเองจำนวน 10 ข้อ เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพ และปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน สัมประสิทธิ์การแปรผัน (Coefficient of Variation: CV)
ผลการวิจัย: ผลการวิจัยพบว่าการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากการวัดทั้งสามครั้ง ค่าเฉลี่ยข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนในครั้งที่ 2 มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (M=8.364, SD=0.902) รองลงมาคือ ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 1 (M=8.318, SD=1.086 และ M=7.864, SD=1.320 ตามลำดับ) แสดงว่าการทดสอบครั้งที่ 2 มีความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษน้อยกว่าการทดสอบครั้งที่ 1 และคะแนนของการทดสอบครั้งที่ 3
สรุปผล: พบว่าค่าเฉลี่ยข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่ใช้แบบประเมินการเขียนโดยเพื่อนและตนเอง (Peer and Self Editing Checklist) ระหว่างการวัดแต่ละครั้งมีความแตกต่างกัน แต่ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ ข้อมูลเป็นเอกพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Mauchly’s W = .883; p = .287) และเมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษระหว่างการวัดแต่ละครั้ง (Test of Within-Subjects Effects) พบว่า ค่าเฉลี่ยข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาอังกฤษจากการวัดอย่างน้อย 1 ครั้งแตกต่างจากการวัดครั้งอื่น ๆ แบบไม่พบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Greenhouse - Geisser = .895; F(1.790,37.588) = 2.792, p = .080)
References
ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2558). ผลของการใช้คำถามประเมินตนเองและการประเมินโดยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเองและความรู้บูรณาการ TPACK ด้านการออกแบบสื่อดิจิทัลของนิสิตครู. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 43(4), 129 – 145.
พินดา วราสุนันท์. (2558). การพัฒนาผู้เรียนด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับโดยเพื่อน (Developing Learners by Using Peer Feedback). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(1), 33-40.
พูลสุข กรรณาริก และสงัด เซียนจันทึก. (2564). การพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์โดยการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา. วารสาร มมร วิชาการล้านนา, 10(1), 37 – 47.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎีกลยุทธ์สู่การปรฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Academy, T. (2020). The Basics of Teaching English as a Foreign Language. Ratchaphruek Journal, 1(1), 18-29. https://bit.ly/367PCjc.
Alice Oshima, Ann Hogue. (1991). Writing Academic English: A Writing and Sentence Structure Workbook for International Students (Longman Academic Writing Series). United Kingdom: Longman.
Belachew, M., Getinet, M., & Gashaye, A. (2015). Perception and practice of self-assessment in EFL writing classrooms. Journal of Languages and Culture, 6(1), 1–8.
Meletiadou, E. (2021). Exploring the Impact of Peer Assessment on EFL Students’ Writing Performance. IAFOR Journal of Education: Language Learning in Education, 9(3), 77 - 95.
Nielsen, L., Hansen, & Storgaard, K. (2014). Personas Is Applicable: A Study on the Use of Personas in Denmark Proceedings of the SIGCHI Conference on Human Factors in Computing Systems. Toronto, Ontario: ACM.
Robinson, P. (1991). ESP Today: A Practitioner’s Guide, Developments in English for Specific Purposes. In: Cambridge: Cambridge University Press. Successful practices and essential strategies. Journal of Research in Reading, 37, 1–16.
Yu, R., & Yang, L. (2021). ESL/EFL Learners’ Responses to Teacher Written Feedback: Reviewing a Recent Decade of Empirical Studies. Frontiers in Psychology, 25, 29 – 65.
Zhang, X., & Chen, J. (1989). The techniques to teach writing. English Teaching Forum, 27(2), 34.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ