ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • สุธารส อินสำราญ ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0009-0005-9130-2526
  • กมลทิพย์ ศรีหาเศษ ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0000-0002-4381-6128
  • ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์ ภาควิชาการประเมินและการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://orcid.org/0000-0002-4874-2607

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274678

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์; , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อนักเรียนเนื่องจากเป็นวิชาที่ช่วยให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล คิดอย่างเป็นระบบและมีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน แต่ทั้งนี้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์มีอิทธิพลมาจากหลายปัจจัย ดังนั้น เพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ในการวางแผนจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ และใช้เป็นแนวทางแก้ไขที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ได้เต็มตามศักยภาพจึงนำมาสู่การวิจัยในครั้งนี้ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) สร้างสมการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 498 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุ

ผลการวิจัย: 1) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) ระหว่างตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ กับตัวแปรอิสระ คือ เพศ ความรู้พื้นฐานเดิมทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์ การรับรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ การสนับสนุนจากครู การสนับสนุนทางการเรียนวิทยาศาสตร์จากผู้ปกครอง การสนับสนุนจากเพื่อนในการเรียนวิทยาศาสตร์ บรรยากาศในการเรียน ความรับผิดชอบทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เท่ากับ 0.92 โดยชุดตัวแปรอิสระสามารถอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรตาม (R2) ได้ร้อยละ 84.30 และ 2) ตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์มากที่สุด คือ ความรู้พื้นฐานเดิมทางวิทยาศาสตร์ (b=0.90) รองลงมา คือ เจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์ (b=0.10) การสนับสนุนจากครู (b=0.07) บรรยากาศในการเรียน (b=0.06) และเพศ (b=0.05) ตามลำดับ โดยสมการทำนายปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการคัดเลือกตัวแปรเข้าสู่สมการ แบบ Enter พบว่า สัมประสิทธิ์ถดถอย (b) ของ เพศ ความรู้พื้นฐานเดิมทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ การสนับสนุนจากครู และบรรยากาศในการเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมการทำนายในรูปของสมการคะแนนดิบ คือ

        =   38.54 + 0.96เพศ*+11.58ความรู้พื้นฐานเดิมทางวิทยาศาสตร์*

             +1.65เจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์*-1.21การสนับสนุนจากครู*–0.90บรรยากาศในการเรียน*

สรุปผล: ผลการวิจัยเผยให้เห็นความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางวิทยาศาสตร์และชุดตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลซึ่งอธิบายส่วนสำคัญของความแปรปรวนโดยรวม ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ตามมาด้วยทัศนคติการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงบวก การสนับสนุนจากครู บรรยากาศการเรียนและเพศ การค้นพบนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าเกี่ยวกับปัจจัยกำหนดความสำเร็จทางวิชาการในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยเน้นถึงความสำคัญของความรู้พื้นฐานและทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนรู้

References

โชติกา เศรษฐธัญการ. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาระหว่างเพศหญิงกับเพศชายที่สะท้อนให้เห็นภาพพจน์ทางเพศ. วารสารมังรายสาร, 7(2), 17-31. https://so04.tci-thaijo.org/index. php/mrsj/article/view/196563

กรมวิชาการ. ( 2545 ). คู่มือการพัฒนาสื่อการเรียนรู้. โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กระทรวงศึกษาธิการ

จีรวรรณ สุขหลังสวน, ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ และ สังวรณ์ งัดกระโทก. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2, การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11. 240-250. http://58.181.147.25/ojsjournal/index.php/8thconference/article/view/2190

ชาตรี ฝ่ายคำตา, ธาฤชร ประสพลาภ, อนุพงศ์ ไพรศรี, เขมวดี พงศานนท์, นิอร ภูรัตน์ และ กุลธิดา สะอาด. (2565). การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพที่ส่งเสริมสมรรถนะของครูวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเฉพาะที่เน้นการคิดขั้นสูง. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE), 6(1), 63–73. https://doi.org/10.14456/jsse.2023.7

ดารารัตน์ จันทร์กาย. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทย. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2549). การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์

พัชรินทร์ สิงห์สรศรี. (2560). อิทธิพลของความรู้พื้นฐานเดิมและบรรยากาศชั้นเรียนที่มีต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดนครปฐม โดยมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เป็นตัวแปรส่งผ่าน. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภัทรนันท์ คำมี, ไพรัตน์ วงษ์นาม และ สุรีพร อนุศาสนนันท์. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์, 29(1), 72-84. https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/education2/article/view/5635

ภูริชญา อินทรพรรณ, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ และ ศศิธร บัวทอง. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการให้บัตรหลานเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(3), 270-283. https://so05.tci-thaijo.org/ index.php/pimjournal/article/view/226993.

ฤติมา รักษารักษ์ และ งามลมัย ผิวเหลือง. (2558). อิทธิพลของการสนับสนุนทางสังคมการเห็นคุณค่าในตนเองและการควบคุมตนเองที่มีต่อความหยุ่นตัวของนิสิตรอพินิจ. Journal of Language, Religion Aand Culture, 4(2), 146–174. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/62534

วรันญา วิรัสสะ, วันวิสาข์ ลิจ้วน และ ประสิทธิ์ ปุระชาติ. (2562). การศึกษาหาความสัมพันธ์ของเจตคติต่อวิทยาศาสตร์กับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดสิงห์บุรี สังกัดโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(2),130-141. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ptujournal/article/download/217210/1598 93/788491

วาสนา รังสร้อย. (2566). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนให้มีวินัยและความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 ปีการศึกษา 2564. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 9(1), 1-8. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/view/259974/176978

วิเศษ ชิณวงศ์. (2560). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาครูวิชาชีพ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย. Journal of Education Studies, 45(4), 164–176. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/125450

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2566). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ม.3 ปีการศึกษา 2565. https://www.niets.or.th/th/content/view/25621

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย

สมจิตตรา เรืองศรี. (2564).ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศ และชั้นปีที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คณิตศาสตร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารรัชภาคย์, 5(40), 185-199. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/download/250171/170311

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Bloom, B.S. (1976). Taxonomy of education objective, handbook: Cognitive domain. David Mckay.

Carson, S.H. (2019). Creativity and mental illness. In J. C. Kaufman & R. J. Sternberg (Eds.), The Cambridge Handbook of creativity (pp. 296–318). Cambridge University Press. https://doi. org/10.1017/9781316979839.016

Fan, X., & Chen, M. (2001). Parental involvement and students’ academic achievement: A meta-analysis. Educational Psychology Review, 13(1), 1–22.

Floyd, T., & Dimmitt, C. (2002). Towards a rationale for science education. Journal of Science Education and Technology, 11(4), 335–342.

Hasan, O.E. & Billen, V.Y. (1975). Relationships Between Teachers Change in AttitudesTowards Sciences and Some Professional Variables. Journal of Research in Science Teaching, 12(3), 247-253.

Hidi, S., & Renninger, K. A. (2006). The four-phase model of interest development. Educational Psychologist, 41(2), 111–127.

Hofstein, A., & Lunetta, V. N. (2004). The laboratory in science education: Foundations for the twenty-first century. Science Education, 88(1), 28–54.

Munby, H. (1983). Thirty studies Involving the scientific attitude insentience can we have in this instrument?. Journal of ResScience Teaching, 20(30), 141 - 159.

Organization for Economic Co-operation and Development. (2016). What makes a school as learning organization?. In A guide for policymakers, school leaders and teachers. Retrieved from: https://www.oecd.org/education/school/school-learning-organisation.pdf

She, Z., Kaufman, J. C., & Csikszentmihalyi, M. (2013). The relationship between creativity, IQ, and intelligence. In J. C. Kaufman, & R. J. Sternberg (Eds.), The Cambridge Handbook of Creativity (pp. 315–342). Cambridge University Press.

Shulman, L.S. (1986) Those Who Understand: Knowledge Growth in Teaching. Educational Researcher, 15, 4-14. http://dx.doi.org/10.3102/0013189X015002004

Sirin, S. R. (2005). Socioeconomic status and academic achievement: A meta-analytic review of research. Review of Educational Research, 75(3), 417–453.

Tai, R. H., Sadler, P. M., & Loehr, J. F. (2005). Factors influencing success in introductory college chemistry. Journal of Research in Science Teaching, 42(9), 987–1012.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-05

How to Cite

อินสำราญ ส. ., ศรีหาเศษ ก. ., & ทิพยกุลไพโรจน์ ด. . (2024). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), 309–324. https://doi.org/10.60027/iarj.2024.274678

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ