วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนารูปแบบการใช้หลักสูตรสถานศึกษาสร้างเส้นทางการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสถานศึกษาจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • เลอลักษณ์ โอทกานนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี https://orcid.org/0009-0002-2397-6906

DOI:

https://doi.org/10.60027/iarj.2025.272622

คำสำคัญ:

วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, รูปแบบการใช้หลักสูตรสถานศึกษา, เส้นทางการเรียนรู้, ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ

บทคัดย่อ

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนารูปแบบการใช้หลักสูตรสถานศึกษาสร้างเส้นทางการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในสถานศึกษาจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการใช้หลักสูตรสถานศึกษาสร้างเส้นทางการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในสถานศึกษาจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก่อนและหลังเรียนรู้ตามรูปแบบการใช้หลักสูตรสถานศึกษาสร้างเส้นทางการเรียนรู้รายบุคคล ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสถานศึกษาจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว

ระเบียบวิธีการวิจัย: งานวิจัยนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา ประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในสถานศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มี 2 จังหวัด คือ จังหวัดปทุมธานี ได้แก่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์  จำนวน 259 คน  และจังหวัดสระแก้ว ได้แก่ โรงเรียนสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว จำนวน  495  คน  รวมทั้งสิ้น 754 คน และกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ มีค่าความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 ทุกรายการ และแบบประเมินทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย: ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนารูปแบบการใช้หลักสูตรสถานศึกษาสร้างเส้นทางการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในสถานศึกษาจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการของรูปแบบ (4) การวัดและประเมินผล (5) ปัจจัยสนับสนุน และ (6) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ ผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก่อนและหลังเรียนรู้ตามรูปแบบการใช้หลักสูตรสถานศึกษาสร้างเส้นทางการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในสถานศึกษาจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว โดยรวมมีค่าเฉลี่ยผลการประเมินหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าค่าเฉลี่ยผลการประเมินก่อนใช้รูปแบบ โดยมีผลการประเมินหลังใช้รูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด และมีผลการประเมินก่อนทดลองใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก เพิ่มขึ้น 0.08 คิดเป็นร้อยละ 1.78

สรุปผล: องค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยนี้คือรูปแบบการใช้หลักสูตรสถานศึกษาสร้างเส้นทางการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในสถานศึกษาจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว ซึ่งมีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ และสามารถเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปทุมธานีและสระแก้วได้

References

ปนัดดา นกแก้ว. (2562). ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดสมุทรปราการ. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). (2565, 1 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 (ตอนพิเศษ 258 ง), หน้า 1.

ระพีพัฒน์ หาญโสภา และคณะ. (2563). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. วารสารวิชาการธรรมทัศน์, 20(2), 163-172.

วรนุช แสนพิช. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มตามความสามารถของผู้เรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. วารสารครุศาสตร์, 45(1), 88-98.

สาลินี อุดมผล และมาเรียม นิลพันธ์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการอาชีพเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และคุณลักษณะด้านอาชีพ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), 116-128.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2562). การเรียนรู้ส่วนบุคคล: การพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารการวิจัยทางการศึกษา, 11(2), 1-15.

Best, J. W. (1984). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall.

Black, P., & Wiliam, D. (1998). Assessment and Classroom Learning. Assessment in Education: Principles, Policy & Practice, 5(1), 7-74.

Partnership for 21st Century Skills. (2009). P21 Framework Definitions. Washington, DC: P21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-08

How to Cite

โอทกานนท์ เ. (2025). วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนารูปแบบการใช้หลักสูตรสถานศึกษาสร้างเส้นทางการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสถานศึกษาจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 5(2), 787–800. https://doi.org/10.60027/iarj.2025.272622

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ