โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2021.1คำสำคัญ:
โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะ, , การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, , สะเต็มศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนาโดยแบ่งวิธีดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ (1) การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแนวทางสะเต็มศึกษา โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด 7 ท่าน เพื่อประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล และแบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะครูฯ ในขั้นตอนนี้ได้ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ความสอดคล้องแบบ IOC โดยให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาแล้วนำไปหาค่าดัชนีความสอดคล้องโดยการวิเคราะห์ค่า Item Objection Congruence Index (IOC) ของแบบประเมินเป็นรายข้อ แล้วพิจารณาเลือกข้อคำถามที่มีค่า IOC มากกว่า 0.5 ขึ้นไป ซึ่งแสดงค่านั้นวัดได้ครอบคลุม พบว่าข้อคำถามที่สร้างขึ้นมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80–1.00. (2) การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขั้นตอนการดำเนินการในระยะนี้ ประกอบด้วย (1) นำองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่ได้จากระยะที่ 1 มาเป็นกรอบในการสร้างแบบสอบถามความต้องการจำเป็นสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา (2) เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 468 คน (3) วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานตามความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์ความถี่สมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา (3) การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการศึกษาที่ได้จากระยะนี้ ประกอบด้วย (1) นำผลการวิจัยที่ได้จากระยะที่ 2 มาวิเคราะห์หาค่าดัชนีความต้องการจำเป็นและจัดลำดับความต้องการ (2) ศึกษา Best Practices เกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา (3) ร่างโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา (4) ประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของโปรแกรม โดยใช้เทคนิคการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) และ (4) การศึกษาผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไปใช้ในโรงเรียน โดยมีขั้นตอนการนำไปใช้ดังนี้ การเตรียมการใช้โปรแกรม การใช้โปรแกรม และ การประเมินผลการใช้โปรแกรมผลการวิจัยพบว่า
ผลการทดสอบความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคะแนนก่อนพัฒนาได้คะแนนเฉลี่ย 17.17 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 57.22 และมีคะแนนหลังการพัฒนาได้คะแนนเฉลี่ย 25.47 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.89 แสดงว่า ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคะแนนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน สำหรับผลการประเมินสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก่อนการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง หลังพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น ผลการนำโปรแกรมการเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางสะเต็มศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ทำให้เกิดประโยชน์กับนักเรียนและครูเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการที่นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2559). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2559
บุญชม ศรีสะอาด. (2553).การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : บริษัท. สุวีริยาสาส์น จำกัด.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสาร นักบริหาร 33 (2) (เมษายน-มิถุนายน 2556), 49-56.
พิมพ์พร พิมพ์เกาะ. (2557). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิโรจน์สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา : กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่21. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). คู่มือสมรรถนะราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (2550). การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุวัฒน์จุลสุวรรณ์. (2554). การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลยี่ นแปลงผู้บริหารสายสนับสนุน สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ.วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสารคาม
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจาเป็น. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์. แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อนันต์ พันนึก (2554). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Boone, M. (1992). The Impact of Leadership Behavior of the Superintendent on Restructuring Rural Schools. Texas: Abstracts from: ERIC Database: ERIC NO: 354115
Boyle, P.G. 1981. Planning better programs. New York : Mc Graw-Hill.
Caffarella, R. (2002). “Planning: Programs for Adult Learners: A Practical Guide for Educations” Trainers And Staff Developers. San Francisco: Jossey-Bass Publishers.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins. Publishers. (pp.202-204).
House, R. J. (1977). A 1976 Theory of Charismatic Leadership. In J.G. Hunt and L.L. Larson (eds.) Leadership: The Cutting Edge. Carbondale: Southern Illinois University Press.
Knowles M.S. (1975). Self-Directed Learning: A Guide for Learner and Teachers. Chicago: Association Press
Knowles, M. S. 1980. The Modern Practice of Adult Education: From Pedagogy to Andragogy. Englewood Cliffs: Prentice-Hall/Cambridge.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
McClelland, D.C. (1993). The Achievement Motive. New York: Appleton-Century-Crofts.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60
Vasquez, J. A., Sneider, C. I., & Comer, M. W. (2013). STEM lesson essentials, grades 3-8: Integrating science, technology, engineering, and mathematics. Heinemann.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ