การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2025.282273คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย, ทักษะการทำงานเป็นทีมบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: วรรณคดีนับเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่า อันเนื่องมาจากการเลือกสรรคำมาใช้ในการแต่งบทประพันธ์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงอารมณ์ ความรู้สึก รวมไปถึงแนวคิดที่กวีต้องการสื่อสารผ่านตัวอักษร โดยการจัด การเรียนรู้วรรณคดีไทยจึงต้องมุ่งให้นักเรียนรู้สึกสนุกและมีส่วนร่วมกับตัวบทวรรณคดีไทยที่แสดงออกผ่านการใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2)เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัด การเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น 2.2) เพื่อประเมินทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วรรณคดีเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่เรียนวิชาภาษาไทยพื้นฐาน 8 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 40 คน โดยใช้ การสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ คู่มือรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย แบบวัดทักษะการทำงานเป็นทีม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย: 1) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยองค์ประกอบของรูปแบบ 5 องค์ประกอบ คือ 1)หลักการ 2)วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ 3.1 แนะนำและร่วมมือกันเลือกสรรวรรณกรรม G: Guidelines and Collaboration in Selecting Literature 3.2 กระตุ้นให้นึกคิดและเชื่อมโยงประสบการณ์ S : Stimulate Reflection and Connect Experiences 3.3 กำหนดประเด็นและร่วมมือกันวางแผนในการอ่านD : Defining Issues and Collaboratively Planning the Reading 3.4 อ่านวรรณกรรมร่วมกัน R : Reading Literature Together 3.5 กิจกรรมสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ I : Interactive Activities for Learning and Exchange 3.6 นำเสนอ สะท้อนคิด และประเมินผล P : Presentation, Reflection, and Evaluation 4) การวัดและการประเมินผล 5) ปัจจัยในการสนับสนุนในการนำรูปแบบไปใช้ 2)ผลการประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยและทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีสรุปผลดังนี้ 1)หลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยในข้อที่ 1 2) หลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่า คะแนนเฉลี่ยประเมินทักษะการทำงานเป็นทีมของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองอยู่ระดับมากซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยในข้อที่ 2
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์เกษตรแห่งประเทศไทย.
ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้จริยสื่อเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 1313-1326.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล เนียมหอม. (2556). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรราธิราช.
นัทธ์ชนัน แก้วดวงใจ และ วิภาวี ศิริลักษณ์. (2567). การส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน ร่วมกับกลวิธี SQP2RS. วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา, 4(3), 911-928.
เนาวนิตย์ สงคราม. (2550). การพัฒนารูปแบบการสร้างความรู้ด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกันสำหรับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษากรณีศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาฯ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรัณย์ ขนอม และสง่า วงค์ไชย. (2564). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดวรรณกรรมเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences, 1(1), 20-32. (ISSN: 2773-8787).
สง่า วงค์ไชย. (2560). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวการสอนที่เน้นภาษา วรรณกรรม และประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนสรุปความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต”. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิยาลัยศิลปากร.
สุจริต เพียรชอบ. (2539). ศิลปะการใช้ภาษา. กรงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สุพิน ดิษฐกุล. (2543). การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative learning). วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 15 (2), 1-8.
อรอนงค์ โฆษิตพิทัฒน์. (2560). การพัฒนาความสามารถในการทำงานเป็นทีมด้วยรูปแบบการสอนแบบร่วมมือทำงานเป็นทีมในรายวิชาสัมมนาวารสารศาสตร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
อิสริยาภรณ์ พึ่งจิตร. (2566). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณคดีเป็นฐานร่วมกับกลวิธี REAP เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 34(2), 83-98.
Creswell, J.W., & Plano Clark, V.L. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research. 2nd Edition, Sage Publications, Los Angeles.
Dick, W., Carey, L., & Carey, J. O. (2005). The systematic design of instruction. Pearson, Allyn and Bacon.
Dickinson, T. L., & McIntyre, R. M. (1997). A conceptual framework for teamwork measurement. In M. T.
Galda, L., Cullinan, B., & Strickland, D. (1993). Language, literacy, and the child. Ft. Worth, TX: Harcourt, Brace Jovanovich.
Gerlach, J.M. (1994). Is this collaboration? In Bosworth, K. & Hamilton, S. J. (Eds.), Collaborative Learning: Underlying Processes and Effective Techniques, New.
Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (2003). Student motivation in co-operative groups: Social interdependence theory. In R. M. Gillies & A. F. Ashman (Eds.), Co-operative learning: The social and intellectual outcomes of learning in groups (pp. 136–176). Routledge.
Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2004). Models of Teaching (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.
Joyce, B., Weil, M., and Calhoun, E. (2009). Models of Teaching. 8th ed. New York: Allyn& Bacon.
Kruse, K. (2008). Instructional design. Retrieved March 14, 2008, from http://www. cognitivedesignsolutions.com/Instruction/LearningTheory.htm.
Nolan, P. R. (1989). Designing Screen Icons: Ranking and Matching Studies. Proceedings of the Human Factors Society Annual Meeting, 33(5), 380-384. https://doi.org/10.1177/154193128903300532
Reid, J., Forrestal, P., & Cook, J. (1989). Small group learning in the classroom. Portsmouth, NH: Heineman.
Ruddell, R.B., & Ruddell, M. R. (1995). Teaching children to read and write: Becoming an influential teacher. United States America: Allyn and Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ