การบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถาบันการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2024.276969คำสำคัญ:
การบริหารอาชีวศึกษา; , ระบบทวิภาคี; , สถาบันอาชีวศึกษาบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การศึกษาเรื่องการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถาบันการศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถาบันการอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง ตามมาตรฐานการจัดการของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (2) เปรียบเทียบระดับการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถาบันในจังหวัดระยอง และ (3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมหรือพัฒนาการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถาบันการอาชีวศึกษาจังหวัดระยอง
ระเบียบวิธีการวิจัย:กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 201 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ซึ่งเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และค่าความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.8-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test)
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า ระดับการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาจังหวัดระยองใน 4 ด้าน ได้แก่ คุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา, หลักสูตร, ความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการกับสถานศึกษา, และการวัดและประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับ "มาก" เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยใช้ t-test และ F-test พบว่าผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีตำแหน่ง, ระดับการศึกษา และทำงานในสถานศึกษาขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แนวทางในการพัฒนาการบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในจังหวัดระยอง ควรได้รับการสนับสนุนและปรับปรุงทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา, การปรับปรุงหลักสูตร, การส่งเสริมความร่วมมือกับสถานประกอบการ และการพัฒนาการวัดและประเมินผล
References
กฤติกา ไหวพริบ และคณะ. (2561). การบริหารการศึกษาระบบทวิภาคีโรงเรียนป้อมนาคราชสวาทยานนท์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 97-106.
จอมพงศ์ มงคลวานิช. (2561). การบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนภัทร แสงจันทร์ และคณะ. (2564). รูปแบบการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(2), 76-85.
นวลอนงค์ ธรรมเจริญ. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโรงเรียนในโรงงานแบบบูรณาการ. วิทยานิพนธ์ ปร.ด., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
บัณฑิต ออกแมน. (2560). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีระหว่างสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากับนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. วิทยานิพนธ์. ปร.ด., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวรียาสาส์น.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. (2557). มาตราฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. ราชกิจจานุเบกษา131. (ตอนพิเศษ 239ง). 1-5.
พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา. (2551). ราชกิจจานุเบกษา125. (ตอนที่ 43ก). 1-24.
ภูวเรศ อับดุลสตา และวรรณดี สุทธินรากร. (2561). การพัฒนาระบบทวิภาคีของการอาชีวศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2556). การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี.
สุทธิรักษ์ ทัศบุตร. (2564). การบริหารการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 21(1), 59-66.
สุทธิรักษ์ ทัศบุตร. (2566). การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษา ในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 17(1), 103-117.
สุวารี แปงณีวงค์ และสมเกียรติ ตุ่นแก้ว. (2567). การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่รองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอาชีวศึกษากลุ่มภาคเหนือ. วารสารวิจยวิชาการ, 7(1), 217-232.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Interdisciplinary Academic and Research Journal

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ