อิทธิพลของการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์
DOI:
https://doi.org/10.60027/iarj.2023.272786คำสำคัญ:
การตลาดออนไลน์; , การตลาดผ่านโซเชี่ยลมีเดีย; , การตลาดบนมือถือ; , การตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกๆ แบบทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศไทยตอนนี้เรียกได้ว่าเข้าสู่การขายของออนไลน์เต็มรูปแบบ เพราะ ช่วงปี 2563-2565 โควิด (Covid-19) เป็นปัจจัยที่ทำให้การเข้าสู่ออนไลน์ของไทยเป็นไปได้กับคนทุกระดับ ดังนั้นการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลการตลาดออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย
ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเคยซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการคำนวณขนาดตัวอย่างในกรณีที่ไม่ทราบจำนวนประชากร จากสูตรประชากรมีจำนวนไม่แน่นอน โดยใช้สูตรของ คอแครน (Cochran. 1977) ซึ่งจะได้ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เท่ากับ 385 คน ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการปรับขนาดตัวอย่างเพิ่มเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 400 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา และเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กูเกิลฟอร์ม โดยตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ครอนบาร์คแอลฟ่า(Cronbach’s Alpha Analysis Test) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression) และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) สำหรับการทดสอบสมมติฐาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญ (Level of Significance)ทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 21-30 ปี อาชีพพนักกงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออนไลน์เพราะมีราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง เดือนละ 7 ครั้งขึ้นไป ราคาครั้งละ 501-1,000 บาท สาเหตุที่เลือกซื้อคือต้องการความสะดวกสบายเนื่องจากสามารถเลือกซื้อได้ตลอด24 ชั่วโมง ผ่านอุปกรณ์ Smartphone ช่วงเวลา 20.01-24.00 น. เลือกซื้อประเภทสินค้าของใช้ภายในบ้าน ผ่านช่องทาง Shopee ผลการทดสอบสมมติฐานการ การตลาดผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โฆษณาออนไลน์ การตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย การตลาดบนมือถือ มีผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคสินค้าออนไลน์ในเขตจังหวัด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
สรุปผล: การวิจัยแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่สำคัญของการตลาดออนไลน์ต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าซึ่งรวมถึงการตลาดผ่านโซเชียลมีเดียและการตลาดบนมือถือ อย่างไรก็ตาม การทดสอบสมมติฐานแสดงให้เห็นว่าการตลาดออนไลน์ที่มีมีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ เห็นว่าประชาชน ซื้อสินค้าในหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายผ่านแพลตฟอร์มสื่อดิจิทัล ในท้ายที่สุดแล้ว บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องดำเนินการตามแผนเพื่อควบคุมโลกดิจิทัลและเทคโนโลยี ตลอดจนเพิ่มการจดจำแบรนด์ผ่านทางสื่อออนไลน์เพื่อให้สามารถแข่งขันกับบรรยากาศทางธุรกิจในปัจจุบัน
References
ธนรัช เสมอภาค. (2564). การรับรู้สื่อโฆษณาที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในจังหวัดภูเก็ตThe Perception of Advertising Media Affects the Purchasing Decision ofConsumers in Phuket วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 7 (1), 285-298.
ธนาพล สมประสงค์. (2561). ปัจจัยการตลาดผ่านสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลตผ่านช่องทางเฟซบุ๊กของผู้บริโภค. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานครสื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสยาม
ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงไทย. (2556). รู้เรื่องเศรษฐกิจแบบเจาะลึกจากกูรูตัวจริง. Retrieved on 10 October 2023 from: https://krungthai.com/th/financial-partner/economy-resources/business-digest
วรุณ อานนท์ตระกูล. (2562). พฤติกรรมการใช้บริการ mobile commerce และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในชีวิตประจำวันของคนในวัยทำงาน. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหิดล
อรุโณทัย ปัญญา (2562) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก)ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เอริสา อูจิอิเอะ (2564) การสื่อสารการตลาดออนไลน์และออฟไลน์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ตราทัศนคติและความเชื่อถือไว้วางใจในตราชุดชั้นในของสตรีในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Ahmed, R.R., Streimikiene, D., Berchtold, G., Vveinhardt, J., Channar, Z.A., & Soomro, R.H. (2019). Effectiveness of Online Digital Media Advertising as A Strategic Tool for Building Brand Sustainability: Evidence from FMCGs and Services Sectors of Pakistan. Sustainability, 11(12), 3436. https://doi.org/10.3390/su11123436
Appel, G., Grewal, L., Hadi, R. & et al. (2020). The future of social media in marketing. J. of the Acad. Mark. Sci. 48, 79–95 https://doi.org/10.1007/s11747-019-00695-1
Bansal, P., & DesJardine, M. R. (2014). Business sustainability: It is about time. Strategic Organization, 12(1), 70-78. https://doi.org/10.1177/1476127013520265
Braca, A., & Dondio, P. (2023). Developing persuasive systems for marketing: the interplay of persuasion techniques, customer traits, and persuasive message design. Ital. J. Mark. 2023, 369–412 (2023). https://doi.org/10.1007/s43039-023-00077-0
Budiman, S. (2021). The effects of social media on brand image and brand loyalty in Generation Y. Journal of Asian Finance, Economics and Business. 8(3), 1339–1347.https://doi.org/10.13106/jafeb.2021.vol8.no3.1339
Bui, T. Nguyen, N., Nguyen, K., & Tran, T. (2021). Antecedents affecting purchase intention of green skincare products: A case study in Vietnam. Journal of Asian Finance, Economics and Business. 8(3), 1295–1302. https://doi.org/10.13106/jafeb.2021. vol8.no3.1295
Cochran, W.G. (1977) Sampling Techniques. 3rd Edition, John Wiley & Sons, New York.
Czinkota, M., Kotabe, M., Vrontis, D., & Shams, R. (2021). Direct Marketing, Sales Promotion, and Public Relations. "Springer Texts in Business and Economics, in Marketing Management, 4th edition, chapter 13, 607-647, doi: 10.1007/978-3-030-66916-4_13.
Dhore, A., & Godbole, S. (2019). A Descriptive Study of the Effectiveness of Internet Advertising on Consumer Buying Behavior in Nagpur City. Journal of Emerging Technologies and Innovative Research (JETIR), 5(12), 498- 508. https://doi.org/10.2139/ssrn.3341924
Digi musketeers. (2566). Insights of Thai people using Social Media platforms in 2022. Retrieved on 10 October 2023 from: https://digimusketeers.co.th/blogs/online-marketing/social-media-2022
Dwivedi, Y.K., et al. (2021). Setting the future of digital and social media marketing research: Perspectives and research propositions. International Journal of Information Management, 59,102168, https://doi.org/10.1016/j.ijinfomgt.2020.102168.
ETDA. (2022). Thailand Internet User Profile 2022. Data Analysis Center, Electronic Transactions Development Agency, Ministry of Digital Economy and Society. https://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx
Irbo, M.M., & Mohammed, A.A. (2020). Social media, business capabilities, and performance: A review of the literature. African Journal of Business Management, 14(9), 271-277.
Makrides, A., Vrontis, D., & Christofi, M. (2020). The Gold Rush of Digital Marketing: Assessing Prospects of Building Brand Awareness Overseas. Business Perspectives and Research, 8(1), 4-20. https://doi.org/10.1177/2278533719860016
Nur, E. (2021). The impact of social media on firm value: A case study of oil and gas firms in Indonesia. Journal of Asian Finance, Economics and Business. 8(3), 0987–0996. https://doi. org/10.13106/jafeb.2021.vol8.no3.0987
Omar, A.M., & Atteya, N. (2020). The impact of digital marketing on the consumer buying decision process in the Egyptian market. International Journal of Business and Management, 15(7), 120-132.
Petcharat, T., & Leelasantitham, A. (2021). A retentive consumer behavior assessment model of the online purchase decision-making process. Heliyon, 7 (10). https://doi.org/10.1016/j.heliyon.2021.e08169.
Qazzafi, S. (2019). Consumer buying decision process toward products. International Journal of Scientific Research and Engineering Development, 2(5), 130–134.
Redjeki, F., & Affandi, A. (2021). Utilization of Digital Marketing for MSME Players as Value Creation for Customers during the COVID-19 Pandemic. International Journal of Science and Society, 3(1), 40-55
Samantaray, A., & Pradhan, B.B. (2020). Importance of E-Mail Marketing. Palarch’s Journal of Archaeology of Egypt/Egyptology 17(6), 5219-5227. Retrieved from https://archives.palarch.nl/index.php/jae/article/view/1787
Samsudeen, S.N. & Kaldeen, M. (2020). Impact of Digital Marketing on Purchase Intention. International Journal of Advanced Science and Technology, 29(4), 1113-1120
Saputra, F., & Amani, A. (2023). The Effect of Social Media Marketing on Hedonic Shopping Value Through Online Impulsive Buying of Fashion Products (Research On Generation Z In Bandung). Asian Journal of Social and Humanities. 1, 941-948. 10.59888/ajosh.v1i11.89.
Somsiriwattha, K. (2021). The study The Effectiveness of Email Marketing on Purchasing Intention. Master's Degree Independent Study, Mahidol University.
Song, Y.M., Li, G., Li, T., & Li, Y.H. (2021). A purchase decision support model considering consumer personalization about aspirations and risk attitudes. Journal of Retailing and Consumer Services, 63,102728, https://doi.org/10.1016/j.jretconser.2021.102728.
Tiffany, R., Kamala, S., & Phorkodi, M. (2018). A study on the impact of digital marketing on customer purchase decisions in Thoothukudi. International Journal of Science, Engineering, and Management, 3(4), 613–617.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Pittayush Yanpitak

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ