การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของนายกเทศมนตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
DOI:
https://doi.org/10.14456/iarj.2022.166คำสำคัญ:
การพัฒนา; , ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์; , นายกเทศมนตรี; , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบทคัดย่อ
ผู้นำเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร ผู้นำเป็นบุคคลที่มีอำนาจ มีอิทธิพลในการบังคับบัญชา มอบหมายงานและกำกับดูแลให้งานเป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นหน่วยงานแรกที่ทราบถึงปัญหาของประชาชนในพื้นที่ การนำพาองค์กรให้ประสบผลสำเร็จในการให้บริการประชาชนในพื้นที่ ผู้นำองค์กรจะต้องมีความรู้ความสามารถ มีกลยุทธ์ในการดึงศักยภาพของบุคคลากรในองค์กรเพื่อให้งานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อค้นหาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของนายกเทศมนตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) สร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของนายกเทศมนตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ (3) ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์ โครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของนายกเทศมนตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมายคือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ใช้วิธีคัดเลือกนายกเทศมนตรีแบบเจาะจง ระยะที่ 2 การตรวจสอบยืนยันตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นายกเทศมนตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 276 คน ใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของนายกเทศมนตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัย พบว่า ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของนายกเทศมนตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ การวางแผนกลยุทธ์ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ และการติดตาม และการประเมินผลกลยุทธ์ องค์ประกอบย่อย 10 องค์ประกอบ คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร การกำหนดทิศทางขององค์กร การกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร การวางแผน การจัดองค์กร การนำองค์กร การควบคุมองค์กร การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานกับมาตรฐาน การดำเนินการปรับปรุงแก้ไข มี 70 ตัวบ่งชี้ ผลการทดสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของนายกเทศมนตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ค่าไค-สแควร์ (Chi-Square) =116.92 ที่ชั้นแห่งความอิสระ (df) =16 ความน่าจะเป็นไปได้เข้าใกล้ 1 (p) = .62 นั้นคือ ค่าไค-สแควร์ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) =.95 ดัชนีความสอดคล้องสัมพันธ์ (NFI) =.98 ดัชนีที่แสดงการยอมรับของโมเดล (TLI) =95 ดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนเชิงสัมพันธ์ (CFI) =.98 ดัชนีวัดความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) = .151 ดัชนีรากที่สองของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือ (RMR) = .010 แสดงให้เห็นว่า โมเดลตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของนายก เทศมนตรีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). สรุปข้อมูล อปท ทั่วประเทศ. [Online] http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp [2o กรกฎาคม 2563].
เนตรพัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นําและผูนําเชิงกลยุทธ (พิมพครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: บริษัททริปเพิ้ลกรุ๊ป จํากัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด.
วรวรรณ สำราญใจ. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชน แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 3(7), 1725-1736.
สัญญา เคณาภูมิ. (2555). เทคนิคการบริหารและภาวะผู้นำ. มหาสารคาม: คลังนานาวิทยา.
ไสว พลพุทธา. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสารทดุษฎีบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Butprom, K., Muangkot, W., Loisanan, N., Namkhunthod, N., Wiwithkhunakorn, S., & Sangkhaho, W. (2021). Factors Affecting the Administration of Local Administrative Organizations: A Case Study of Local Administrative Organizations in BanKhai District, Rayong Province. International Journal of Sociologies and Anthropologies Science Reviews, 1(3), 13–22. https://doi.org/10.14456/jsasr.2021.12
Dubrin, A.J., & Andrew, J. (2007). Leadership research findings, practice, and skills (5th ed.). Boston: Houghton Mifflin.
Ireland, R.D. and Hitt, M.A. (1999). “Achieving and Maintaining Strategic Competitiveness in the Twenty-first Century: The Role of Strategic Leadership,” Academy of Management Executive. 13 (1), 43 – 57
Jedaman, P., Kenaphoom, S., & Udompan, A. (2022). Transcendental Leadership in Leader’s Strategies Management Under the 21st Century Dynamics Era. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(3), 27–44. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.24
Khanapsak, S. (2015). Customer Satisfaction with the Services of Local Administration, for the Fiscal Year 2014. Inthaninthaksin Journal. 10(1), 35-51.
Lertpaitoon, S., & Wantanakorn, M. (2003). The concept of strong management with Direct mayoral election in Thailand. Democracy Development Study Center, Bangkok: Thammasat University.
Luo, J., & Asavisanu, P. (2022). A Model for the Development of Leadership Competencies Through Participation in Extra-Curricular Activities for Undergraduate Music Students in Southern Sichuan, China. International Journal of Sociologies and Anthropologies Science Reviews, 2(4), 89–102. https://doi.org/10.14456/jsasr.2022.32
Yamanw, T., (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd edition, New York. Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 Shutidate Yapukdee, Saovalak Kosonkittiumporn, Yupaporn Yupas

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ในบทความใดๆ ใน Interdisciplinary Academic and Research Journal ยังคงเป็นของผู้เขียนภายใต้ ภายใต้ Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License การอนุญาตให้ใช้ข้อความ เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ของสิ่งพิมพ์ ผู้ใช้ใดๆ เพื่ออ่าน ดาวน์โหลด คัดลอก แจกจ่าย พิมพ์ ค้นหา หรือลิงก์ไปยังบทความฉบับเต็ม รวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนี ส่งต่อเป็นข้อมูลไปยังซอฟต์แวร์ หรือใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางกฎหมายอื่นใด แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือด้วยเจตนาที่จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจใดๆ