ปัญหาข้อห้ามการมีส่วนได้เสียตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

Authors

  • พงษ์ศักดิ์ มิ่งขวัญ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

Keywords:

ผู้มีส่วนได้เสีย, นายกเทศมนตรี, สมาชิกสภาเทศบาล, Conflict of interests, Mayor, Council Member

Abstract

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาข้อกฎหมายการหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษหลังจากการพ้นตำแหน่งเนื่องจากมีการฝ่าฝืนข้อห้ามการเป็นผู้มีส่วนได้เสียของสมาชิกสภาเทศบาล นายกเทศมนตรีรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และเลขานุการนายกเทศมนตรี รวมทั้งการจัดการเมื่อมีการฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าว โดยดำเนินการศึกษาจากกฎหมายต่าง ๆ ในส่วนที่บัญญัติถึงข้อห้ามการเป็นผู้มีส่วนได้เสียทั้งของไทยและของต่างประเทศ จากการ ศึกษาพบว่าข้อห้ามการเป็นผู้มีส่วนได้เสียของผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวข้างต้น ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 ยังมีปัญหาในเรื่องการตีความของหน่วยงานผู้มีอำนาจวินิจฉัย และปัญหากฎหมายที่ยังเปิดโอกาสให้หลีกเลี่ยงการถูกลงโทษได้ โดยการลาออกก่อนที่จะมีการวินิจฉัย ซึ่งบุคคลดังที่กล่าวมีสิทธิที่จะลาออกได้เมื่อลาออกแล้วก็จะไม่ถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งโดยมีผลย้อนหลัง

จากผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2552 ควรได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมโดยเพิ่มบทบัญญัติในส่วนของข้อห้ามการเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถสั่งให้ผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามการเป็นผู้มีส่วนได้เสียพ้นจากตำแหน่งย้อนหลังได้ แม้จะได้ลาออกจากตำแหน่งไปก่อนที่จะมีการวินิจฉัยก็ตาม

 

Legal Problems on the Prohibited Conflict of Interest in the Municipal Act, B.E. 2496

Phongsak  Mingkwan

School of law, Mae Fah Luang University

This research is aimed to study and analyze legal problems on the prohibition against conflict of interests for the mayor, vice mayor, council member, advisor to the mayor and secretary to the mayor. The study will also include the management in a breach of prohibition against conflicts of interest. It is to study laws relating to prohibition against conflicts of interest in both Thailand and overseas. The study found that there is still a problem in the Municipal Act, B.E. 2496 on the standard interpretations for the agency’s authority diagnosis in the provisions on prohibition against conflicts of interest for the mayor, vice mayor, council member, advisor to the mayor and secretary to the mayor. There are also loopholes in the law in which persons who breach of prohibition against conflicts of interest can avoid the punishment by resigning from the position before the case is diagnosed as it is allowed todo so. Then, those persons cannot be retroactive ordered to deposition if they have resigned.

The result of the study showed that the Municipal Act, B.E.2496 Amendment Version (13th issue) B.E. 2552, shouldbe amended by adding provisions on the prohibition against conflicts of interest that the Provincial Governor can order the persons who breach of prohibition against conflicts of interest to be retroactive removed from office even though they have resigned.

 



Downloads

How to Cite

มิ่งขวัญ พ. (2014). ปัญหาข้อห้ามการมีส่วนได้เสียตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 2(2), 59–66. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/42753

Issue

Section

Research Article