แผนการจัดการชุมชนโดยทุนทางสังคมของชุมชนชายแดนไทย-ลาวในการพัฒนาและป้องกันทางสังคมจากผลของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษา ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์

Authors

  • สุพัตตรา ตันติจริยาพันธ์ หลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

Keywords:

ทุนทางสังคม, แผนยุทธศาสตร์, การจัดการชุมชน, ชุมชนชายแดนไทย-ลาว, Social capital, Strategy plan, Community management, Thai-Laos border community

Abstract

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งโครงการวิจัยเรื่อง “ทุนทางสังคมกับการจัดการชุมชนเพื่อพัฒนาและป้องกันทางสังคมของชุมชนชายแดนจากนโยบายการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ศึกษาเฉพาะตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาทุนทางสังคมของชุมชนชายแดนไทย-ลาว หมู่ที่ 2 บ้านม่วงเจ็ดต้น  อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์และ 2) เพื่อกำหนดแผนการจัดการชุมชนโดยอาศัยทุนทางสังคมของชุมชนชายแดนไทย-ลาว ในการพัฒนาและป้องกันทางสังคมจากผลของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ดำเนินผ่านหมู่ที่ 2 บ้านม่วงเจ็ดต้นผู้วิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) โดยใช้วิธีการศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) ร่วมกับวิธีการศึกษาภาคสนาม (Field Research) โดยผลการศึกษามี ดังนี้

1. ผลการศึกษาทุนทางสังคมของชุมชนชายแดนไทย-ลาว หมู่ที่ 2 บ้านม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก  จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย 1.1) เครือข่ายความร่วมมือข้ามแดนระดับประชาชนและหน่วยงานราชการระหว่างไทยและลาว 1.2) องค์กรทางสังคม (Social Organization) ในระดับหมู่บ้านชุมชนชายแดน 1.3) กลุ่มอาชีพชุมชน และกองทุนการเงินหมู่บ้าน 1.4) การรวมกลุ่มเชิงเศรษฐกิจ (ชมรมพ่อค้าชายแดน) 1.5) ผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง ที่เป็นบุคคลที่เป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิตและแบบอย่างในการมีส่วนร่วมทางสังคมและการเมืองอย่างสร้างสรรค์ 1.6) อัตลักษณ์ของชุมชนโดยเฉพาะอัตลักษณ์ทางภาษา 1.7) มีความเป็นปึกแผ่นทางสังคม (Community Solidarity) และ 1.8) มีค่านิยมและบรรทัดฐานร่วม (Shared Values and Norms) นอกจากทุนทางสังคมแล้วในชุมชนชายแดนหมู่ที่ 2 บ้านม่วงเจ็ดต้น ตำบลม่วงเจ็ดต้นยังมีทุนกายภาพที่สำคัญ อาทิมีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง มีขุนน้ำปาดที่เป็นต้นกำเนิดน้ำแม่ปาดที่เป็นแม่น้ำหลักของจังหวัดอุตรดิตถ์ และในช่วงฤดูหนาวมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 6 - 12 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาไปเป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยวได้

2. ผลการศึกษาแผนการจัดการชุมชนโดยอาศัยทุนทางสังคมของชุมชนชายแดนไทย-ลาว หมู่ที่ 2 บ้านม่วงเจ็ดต้นในการพัฒนาและป้องกันทางสังคมจากผลของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ดำเนินผ่านหมู่ที่ 2 แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 2.1) แผนการจัดการชุมชนเชิงป้องกันได้แก่ (1) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning Community) และ (2) การจัดทำแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนและการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะของชุมชน 2.2) แผนการจัดการชุมชนเชิงส่งเสริม/คุ้มครอง ได้แก่ (1) การสร้างระบบสวัสดิการชุมชนชายแดน และ (2) การพัฒนาแผนการส่งเสริมความสัมพันธ์ข้ามชาติภาคประชาชนและเอกชน และ 2.3) แผนการจัดการชุมชนเชิงพัฒนา ได้แก่ (1) การพัฒนาธุรกิจชุมชน และ (2) การพัฒนาแผนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เกษตรกรรม และวัฒนธรรมโดยชุมชน 


Community Management Plan through the Integration of the Social Capital of Thai-Laos Community in order to develop and protect the Society from the Impacts of the Liberalization of the ASEAN Economic Community: A case study of Moungjedton Sub-district Ban Khok District Uttaradit Province 

Supattra  Tantijariyapan

Public Administration Program, Uttaradit Rajabhat University

This study is a part of the research project in the title of “Social capital and Community management for Social Development and Protection of the Border community from the Economic liberalization Policy of the ASEAN Economic Community: Moo 2  Moungjedton Village  Ban Khok District Uttaradit Province as a Case study” which was granted by TRFT. The purposes of this study are: 1) To study the social capital of the Thai-Laos border community at Moo 2  Moungjedton Village  Ban Khok District Uttaradit Province and 2) To formulate the community management plans through the integration of the social capital of Thai-Laos community in order to develop and protect the society from the impacts of the liberalization of the ASEAN Economic Community which are operated at Moo 2  Moungjedton Village. The Qualitative Methodologywas conducted for this study. The results of this study illustrates:

1) The social capital of Thai-Laos community Moo 2 Moungjedton Village Ban Khok District Uttaradit Province can be carried out in the followings: 1.1) the network on partnership between Thailand and Laos PDR at the people and governmental body level; 1.2) the social organizations in the border community; 1.3) the occupational groups and  the funding for village; 1.4) the border trade association; 1.5) good leaders in the community to be the role model for people in the society; 1.6) the community identity such the use of Ban Khok Lao Language; 1.7) the community solidarity and 1.8) the shared values and norms of villagers.      

Beside the social capital in Moo 2 Moungjedton Village, the study found that this village and surrounding area has high mountain. Moreover this village is nearby the headwater of Nam Pat which is the main river of Uttaradit with the temperature of 6-12 °C in winter which is suitable to develop it as a tourist attraction.

2. The formulation of the community management plans through the integration of the social capital of Thai-Laos community in order to develop and protect the society from the impacts of the liberalization of the ASEAN Economic Community can be classified in three categories of plans.

First, Preventive management plans of the community which consists of four sub-plans: 1) forming a learning community and 2) formulating the plan for environment management in the community and plan for the use of public area in the community; Second, Promotion/Protection management plans of the community which consists of two sub-plans: 1) Building the social welfare system in border community; 2) developing the plans to promote a relation between Thai – Laos people; Third, the management plans for the development of the community which consists of two sub-plans: 1) developing the community entrepreneurs and 2) developing the plans of eco-tourism, agricultural and cultural tourism by the community.

Downloads

How to Cite

ตันติจริยาพันธ์ ส. (2014). แผนการจัดการชุมชนโดยทุนทางสังคมของชุมชนชายแดนไทย-ลาวในการพัฒนาและป้องกันทางสังคมจากผลของการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษา ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 2(2), 23–36. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/42747

Issue

Section

Research Article