การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคเหนือตอนบน

Authors

  • ชูเกียรติ ก่อเกิด นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เจิดหล้า สุนทรวิภาต วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ไพโรจน์ ด้วงนคร คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สุนทร คล้ายอ่ำ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

Keywords:

รูปแบบการบริหารจัดการความรู้, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, Knowledge Management Model, The Office of Primary Educational Service Area

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคเหนือตอนบน 3) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคเหนือตอนบนผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการบริหารจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคเหนือตอนบนทั้ง 3 ด้าน
ได้แก่ ด้านการวางแผนเตรียมการ ด้านการลงมือปฏิบัติ และด้านการติดตาม ประเมินผล และรายงานผล ในภาพรวมและรายด้านมีคุณภาพของการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคเหนือตอนบน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 ได้แก่ ปัจจัยด้านกระบวนการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์กรปัจจัยด้านผู้นำและภาวะผู้นำ และปัจจัยด้านวัฒนธรรมและบรรยากาศองค์กร ส่วนปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและปัจจัยด้านคุณลักษณะ ความรู้ ทักษะความสามารถของบุคลากร ส่งผลต่อสภาพการบริหารจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคเหนือตอนบน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

3. รูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคเหนือตอนบนเป็นรูปแบบที่มีลักษณะกระบวนการเชิงระบบ โดยมีองค์ประกอบอยู่ 4 ด้าน คือ 1) ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการความรู้ 2) ด้านกระบวนการและกิจกรรมการบริหารจัดการความรู้ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการที่เรียกว่า M(P - D - C - A) 3) ด้านผลผลิตอันเกิดจากกระบวนการและกิจกรรมการบริหารจัดการความรู้และ 4) ด้านข้อมูลย้อนกลับและผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสม

 

The Development of the Knowledge Management Model in the Office of Primary Educational Service Area in the Upper Northern Region

Chookiat  Korkerd1, Cherdla  Soontornvipart2, Pairoj  Duangnakhon3 and Sunthorn  Khlaium4

Major Field of Educational Administration Collage of Education, University of Phayao

School of Education, University of Phayao

3 Faculty of Industrial Technology, Chiangrai Rajabhat University

4 School of Management and Information Science, University of Phayao

The purposes of this research were 1) to study the conditions of the knowledge management in the Office of Primary Educational Service Area in the Upper Northern Region 2) to study the factors affecting the knowledge management in the Office of Primary Educational Service Area in the Upper Northern Region 3) to design the knowledge management model in the Office of Primary Educational Service Area in the Upper Northern Region. The result of the study found that:

1. The conditions of the knowledge management in the Office of Primary Educational Service Area in the Upper Northern Region in both of 3 aspects; knowledge management preparation, knowledge management practice and knowledge management evaluation and report in overall and in each aspect were at moderate level

2. The factors which affected the knowledge management in the Office of Primary Educational Service Area in the Upper Northern Region at the significant level of.01;factor on administrative management, factor on organizational structure, factor on leader and leadership and  factor on culture and organizational atmosphere while factor on technology information and factor on knowledge, skills and abilities of the  personnel had no impact on the conditions of the knowledge management in the Office of Primary Educational Service Area in the Upper Northern Region.

3. The knowledge management model in the office of Primary Educational Service Area in the Upper Northern Region was a systematic process model containing 4 aspects; 1) the aspect of the factors affecting the knowledge management 2) the aspect of the process and activities on knowledge management consisted of the process called M(P-D-C-A). 3) the aspect of the output from process and activities on the knowledge management and 4) the aspect of the feedback and the result on the model appropriateness, it was claimed by experts that it was an appropriate model.

Downloads

How to Cite

ก่อเกิด ช., สุนทรวิภาต เ., ด้วงนคร ไ., & คล้ายอ่ำ ส. (2014). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคเหนือตอนบน. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 2(2), 8–22. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/42745

Issue

Section

Research Article