การจัดการพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุพรรณ โดยการมีส่วนร่วมในชุมชนชุมชน

Authors

  • กฤษฎา ตัสมา นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

Keywords:

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น, พิพิธภัณฑ์วัด, การจัดการพิพิธภัณฑ์, วัดศรีสุพรรณ, local Museum, Temple Museum, Museum Management, Wat Srisuphan

Abstract

บทความเรื่อง การจัดการพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุพรรณ โดยการมีส่วนร่วมในชุมชน [1] เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุพรรณ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น และหาแนวทางในการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุพรรณที่เหมาะสมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ข้อมูลของเชิงคุณภาพมุ่งเน้นศึกษาระบบการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุพรรณ การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์แบบการมีส่วนร่วมของชุมชน และสภาพปัญหาของพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุพรรณ จากทัศนคติของเจ้าอาวาสวัดศรีสุพรรณ ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุพรรณ และข้อมูลเชิงปริมาณ ได้ศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้เข้าชมจากการสัมภาษณ์ สมุดเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ และตอบแบบสอบถามเพื่อไปวิเคราะห์เชิงพรรณนา ทำให้ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปวิเคราะห์รูปแบบในการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุพรรณที่เหมาะสม

ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุพรรณเริ่มจากการรวบรวมโบราณวัตถุ มีการจัดการองค์ความรู้ มีการจัดแสดงให้ผู้ที่สนใจเข้าชม และมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้เยาวชนในชุมชนเข้ามาทำกิจกรรมในพิพิธภัณฑ์ แต่เนื่องจากการจัดการพิพิธภัณฑ์มีการบริหารจัดการโดยวัดศรีสุพรรณ โดยที่ชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการจัดการและตัดสินใจ ทำให้ชุมชนขาดความเข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ ทำให้พิพิธภัณฑ์ขาดผู้เข้าร่วมกิจกรรม การบริหารจัดการจึงเกิดการขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงานด้านพิพิธภัณฑ์

รูปแบบการจัดการที่เหมาะสม เริ่มจากวัดศรีสุพรรณจะต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ชุมชนเห็นถึงความสำคัญของพิพิธภัณฑ์ และขอความร่วมมือกับชาวบ้านในชุมชน หน่วยงานในท้องถิ่น ภาครัฐ เอกชน และสถานศึกษา เข้ามาช่วยในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารดูแลพิพิธภัณฑ์ จัดการองค์ความรู้เรื่องราวของโบราณวัตถุให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน จัดการพิพิธภัณฑ์ทั้งในเรื่องของฐานข้อมูลโบราณวัตถุ การจัดแสดง และจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ รูปแบบการจัดการอย่างมีส่วนร่วมในชุมชนจะนำไปสู่สำนึกร่วมของคนในท้องถิ่น ให้รู้จักหวงแหนโบราณสถาน โบราณวัตถุ และเห็นคุณค่าในท้องถิ่น ขณะเดียวกันสามารถเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ของคนในชุมชน

 

Community Participation as Part of Museum Management at Wat Si Supan 

Krisada  Tussama

Master’s Degree Cultural Resource Management Major Silpakorn University

The journal entitled “Management of Wat Srisuphan Museum by Community Participation” is a part of museum management of Wat Srisuphan research, Mae Jai District, Pha Yao province. The purposes of the research are to study the pattern of local museum management and to find out the appropriate guideline of Wat Srisuphan museum management to be community learning center. 

This study is a Qualitative Research and Quantitative Research. The qualitative data aims at studying the system management of Wat Srisuphan museum, of museum administration by community participation, exhibition pattern, and problem condition of Wat Srisuphan museum. Data is collected from the abbot’s attitude of Wat Srisuphan museum, the janitor and the people involved. Regarding to the quantitative data, it aims at studying the visitors’ opinion and satisfaction by interview, visiting book, and questionnaire. The data is analyzed by using descriptive statistics for finding the appropriate management of Wat Srisuphan museum.

The research shows that Wat Srisuphan museum has management began collecting antiques A knowledge management. Have exhibited to interested visitors and activities for youth in the community to do things in the museum. But management museum is managed by Wat Srisuphan. The community does not participate in the management and decision making. Lack of understanding of the community and do think nothing of the museum. Participants thus lack Museum. Management, resulting in a lack of continuity in the operation of museums.

The research is recommended that Starting from Wat Srisuphan need to build knowledge and understanding of the community and the importance of the museum, It also needs the support from the local organization, community, government sector and private sector and educational institution. Assist in the various communities took part in the care of the Museum Management Committee. Knowledge management story of antiquities in accordance with the needs of the community. Museum management in terms of database artifacts on display and publicity activities. Besides, the community participation can not only build up the consciousness of the local people to cherish and appreciate the historical site and ruins but also combine the community relationship together.


Downloads

How to Cite

ตัสมา ก. (2014). การจัดการพิพิธภัณฑ์วัดศรีสุพรรณ โดยการมีส่วนร่วมในชุมชนชุมชน. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 2(1), 51–63. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/42740

Issue

Section

Research Article