พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาผ่านการเรียนการสอนภายใต้แนวคิดของการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาการจัดการอาชีพเกษตร สายวิชาเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Authors

  • บุญถิ่น อินดาฤทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การเรียนรู้เชิงรุก, การเรียนการสอนแบบโครงงาน, Active Learning, Project Learning

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาภายใต้แนวคิดของการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาการจัดการอาชีพเกษตร สายวิชาเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ผู้วิจัยใช้วิธีการที่หลากหลายในการศึกษา ทั้งการสืบค้นข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ การสัมภาษณ์ การสังเกต การศึกษาดูงาน การประเมิน โดยทั้งหมดอยู่ภายใต้เงื่อนไขการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมทั้ง ผู้สอน ผู้เรียน เจ้าหน้าที่สนับสนุนทางการศึกษา โดยร่วมกับนักศึกษา 6 คนในระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าจากการสืบค้นหาความเป็นไปได้ในวิธีการเรียนการสอนเชิงรุกนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ลักษณะการเรียนแบบโครงงาน และเมื่อนำมาประยุกต์กับทฤษฏีการเรียนรู้เชิงรุก ทำให้เกิดกิจกรรม หรือโครงการที่หลากหลายตามความสนใจของนักศึกษา โดยลักษณะการเรียนการสอนนั้นจะเป็นการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลงานของตนเองในชั้นเรียน ซึ่งผลจากการใช้วิธีการสอนแบบโครงการพบว่า ในการประเมินตนเองผ่านการแสดงความรู้สึกและสะท้อนความคิด นักศึกษามีพัฒนาการในทางที่ดี มีการปรับปรุงงานของตน ทั้งการปรับปรุงโครงการของตนและการเปลี่ยนหัวข้อเมื่อรู้สึกว่าไม่ชอบและไม่สนใจในการเรียนรู้โครงการนั้น ๆ มีลักษณะการสืบค้นข้อมูลแบบ Snowball tactic เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ของโครงงานจากเพื่อนร่วมห้อง ตำรา อาจารย์ โดยการถ่ายทอดจากผู้รู้ไปสู่ผู้รู้อีกทอดหนึ่ง แล้ววนกลับเข้ากระบวนการนำเสนอในห้องเรียนอีกคราวหนึ่ง ในการประเมินจากผู้อื่นพบว่า เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นเชิงวิพากษ์ในชั้นเรียน และจัดทำรูปเล่มเป็นตำราที่เกิดจากนักศึกษาจำนวน 6 เรื่องได้แก่ การเพาะเลี้ยงปลาดุกในเกษตรกรรายย่อย การผลิตน้ำหม่อน การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากนมวัว การเพาะเลี้ยงผึ้ง การผลิตน้ำส้มควันไม้และการเลี้ยงจิ้งหรีดเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้งานวิจัยมุ่งเน้นเรื่องทัศนคติที่มีต่อการเรียนรู้ ฝึกทักษะในการขวนขวายหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่เหมาะสม พัฒนาต่อยอดนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยจะทำการทบทวน ทดสอบ เพื่อพัฒนาลักษณะการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นในวงการการศึกษาต่อไป

 

The Behavior Learning of Undergraduate Study under Active Learning Concept in Management of Agriculture Occupation, Bachelor of Education Agriculture, Chiang Mai University

Boonthin  Indarit

Faculty of Education, Chiang Mai University

This researchinteresting in behavior of undergraduate student under Active Learning concept in Management of Agriculture Occupation subject. This research is qualitative research then researcher uses many method exams book, interview, observe and observe activities. All evaluation under condition of Learning Participate by teacher, learner and supporter. This research have sampling 6 person that 1 term, I see majority of Active Learning use Project base Learning in class and make many activity and diversified project follow interesting of student. The learning use show & share, presentation project in classroom witch research make good impact exam student have well development in display feeling unlike, displeased of your project and change or development its. All project use Snowball tactic for correct information pass book, teacher, knowledgeable person, activities and make project book to presentation in classroom. Evaluate by others see the learning make process knowledge exchange, idea expression in class and make project 6 case, The treat walking catfish in small farm, The process of mulberry water, The transform of fresh milk. The treat bee for many product. The process of Wood Vinegar Extracts and The treat cricket. This research focus on attitude to learning, skill development in method of correct information in many resources by good method and attach for diary. However researcher will revise and test this tool for make innovation and good education.

Downloads

How to Cite

อินดาฤทธิ์ บ. (2013). พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาผ่านการเรียนการสอนภายใต้แนวคิดของการเรียนรู้เชิงรุกในวิชาการจัดการอาชีพเกษตร สายวิชาเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 1(3), 12–16. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/42709

Issue

Section

Research Article