วาทกรรมอัตลักษณ์ไทใหญ่ชุมชนบ้านเมาะหลวง ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะจังหวัดลำปาง

Authors

  • จินตนา แปบดิบ คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

Keywords:

วาทกรรมอัตลักษณ์, ไทใหญ่, บ้านเมาะหลวง ลำปาง, Discourse of Identit, Tai Yai, Mohluang Community Lampang

Abstract

การศึกษาเรื่อง “วาทกรรมอัตลักษณ์ไทใหญ่ชุมชนบ้านเมาะหลวง ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการสร้างอัตลักษณ์ไทใหญ่ชุมชนบ้านเมาะหลวง 2) แบ่งประเภทลักษณะวาทกรรมอัตลักษณ์ชุมชนบ้านเมาะหลวง ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง โดยศึกษาตามแนวคิดวาทกรรมแนวทฤษฎีวิพากษ์ของนอร์แมน แฟร์เคลาฟ์ (Norman Fairclough) และแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์ของ อภิญญา เฟื่องฟูสกุล

ผลการศึกษาพบว่าชาวชุมชนบ้านเมาะหลวงมีกระบวนการสร้างอัตลักษณ์เพื่อต้องการนิยามความหมายชุมชนขึ้นใหม่ภายใต้ระบบโครงสร้างสังคมแบบทุนนิยม  วาทกรรมอัตลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นจึงเน้นความสำคัญที่ความเป็นชาติพันธุ์ไทใหญ่ของชาวชุมชนผ่านกระบวนการสร้าง 4 วิธี คือ การสร้างวาทกรรมอัตลักษณ์จาก“นามสกุล”  “ชุมชนโฮมสเตย์วัฒนธรรมไทใหญ่” “แหล่งกำเนิดประเพณีแห่ช้างผ้า” และ “แหล่งเรียนรู้และรื้อฟื้นวัฒนธรรมประเพณีการแสดงแบบศิลปะไทใหญ่” โดยวาทกรรมอัตลักษณ์ที่ชาวชุมชนบ้านเมาะหลวงสร้างขึ้นนั้นเกิดจากกระบวนการสร้างทางวาทกรรมจำนวน 4 ชุด คือ ชุดวาทกรรมการย้ำและการให้ความสำคัญของการสืบเชื้อสายไทใหญ่ ชุดวาทกรรมการกล่าวซ้ำความเป็นชาติพันธุ์ไทใหญ่ผ่านวัฒนธรรมประเพณีและศิลปะการแสดงต่าง ๆ ชุดวาทกรรมการเรียนรู้และรื้อฟื้นวัฒนธรรมท้องถิ่นดั้งเดิม และชุดวาทกรรมการผสมผสานทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมสู่การผลิตเพื่อการค้าชุดวาทกรรมทั้ง 4 ชุดนี้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจากพัฒนาการทางสังคมแบบทุนนิยมที่นำอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมมาเป็นจุดขายเพื่อพัฒนาเป็น “สินค้าทางวัฒนธรรม” ที่สร้างผลประโยชน์ให้กับคนหลายกลุ่มทั้งในและนอกชุมชนบ้านเมาะหล

 

Discourse of Identity of Tai Yai Mohluang Community, Maemoh City, Maemoh Lampang

Chintana  Paepdip

School of Liberal Arts, Lampang-Intertech College

The research of “Discourse of Identity of Tai Yai Mohluang Community, Maemoh City, Maemoh Lampang” aims to 1) study identity creating process of Tai Yai Mohluang community and 2) distribute the kind of discourse of identity in Mohluang Community, Maemoh City, Maemoh District, Lampang Province. Two theoretical concepts applied to the research are Norman Fairclough’s Discourse Critical theory and Apinya  Feuangfusakul’s Identity theory.

The results of the study reveal that Mohluang community has creating process of identity which defines new definition of the community under the social structure of capitalism. Discourse identity created emphasizes the significance of Tai Yai tribe through four methods of creating process using family name, “Tai Yai Homestay community”, “the origin of Hae Chang Pha” tradition”, learning and revitalizing source of tradition and culture and performing arts of Thai Yai tribe. The discourse of identity found is originated from four discourse, namely 1) the emphasis and the inheritance of Tai Yai generation, 2) the recapitulation of Tai Yai ethnic through tradition and performing arts, 3) learning and revitalizing of the origin of local tradition, and 4) merging of Tai Yai ethnic and culture for business purpose. It can be concluded that all discourse is created based on the development of capitalism in which the identity and ethnic are branded. This is developed to be “cultural product” which benefits both people who live in- and outside the community.

Downloads

How to Cite

แปบดิบ จ. (2013). วาทกรรมอัตลักษณ์ไทใหญ่ชุมชนบ้านเมาะหลวง ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะจังหวัดลำปาง. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 1(2), 70–79. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/42704

Issue

Section

Research Article