อุดมการณ์ความเป็นอื่นในวรรณกรรมล้านนา

Authors

  • วัชรินทร์ แก่นจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

Keywords:

ความเป็นอื่น, อุดมการณ์, วรรณกรรมล้านนา, กลุ่มชาติพันธุ์, The Otherness, Ideology, Lanna Literary Works, Ethnic Group

Abstract

การศึกษาเรื่อง “อุดมการณ์ความเป็นอื่นในวรรณกรรมล้านนา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุดมการณ์ในวรรณกรรมล้านนาที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์ โดยศึกษาตามแนวคิดเรื่องการวิเคราะห์วาทกรรมแนวทฤษฎีวิพากษ์ (Critical Discourse Analysis : CDA) ของ นอร์แมน แฟร์เคลาฟ์ (Norman Fairclough) และแนวคิดเรื่องคู่ตรงข้าม (Binary Opposition) ของ โคลด เลวี่-เสตราส์ (Claude Lévi-Strauss)

ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้อมูลจากวรรณกรรมล้านนาที่เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ และวรรณกรรมลายลักษณ์ ได้แก่ นิทานขำขัน (เจี้ยก้อม)  นิทานเกี่ยวกับผีในล้านนา สำนวนล้านนา และการเทศนาที่มีลักษณะขบขัน วรรณกรรมดังกล่าวมีผู้รวบรวมไว้แล้วจำนวน 163 เรื่อง

ผลการศึกษาพบว่าอุดมการณ์ในวรรณกรรมล้านนาที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์มีจำนวน 4 อุดมการณ์ คือ 1) อุดมการณ์อำนาจนิยม  2) อุดมการณ์ความรุนแรง  3) อุดมการณ์ปิตาธิปไตย  4) อุดมการณ์รัฐชาติ

 

The Otherness Ideology in Lanna Literary Works

Vajrindra  Kaencandra

School of Liberal Arts, University of Phayao

The research of the otherness ideology in Lanna literary works aims to study Lanna literary works ideology on the ethnic group. Two concepts have been applied to the research are Norman Fairclough’s Critical Discourse Analysis (CDA) theory and Claude Lévi-Strauss’s Binary Opposition theory.

The data was gathered from 163 stories collected from Lanna oral literature and literacy literature, namely humors tale, ghost tale, idiom, and sermon humors.

The finding of this research shows that there are four ideology on the ethnic group, namely 1) authoritarianism ideology, 2) violence ideology, 3) patriarchy ideology, and 4) nation ideology.      

Downloads

How to Cite

แก่นจันทร์ ว. (2013). อุดมการณ์ความเป็นอื่นในวรรณกรรมล้านนา. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 1(2), 61–69. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/42703

Issue

Section

Research Article