การบริหารความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานของการดำเนินงานด้านการเงินภายในของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Authors

  • เทอดธิดา ทิพย์รัตน์ อาจารย์ และที่ปรึกษาหน่วยตรวจสอบภายใน หน่วยตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Keywords:

บริหารความเสี่ยง, การดำเนินการด้านการเงิน, ห่วงโซ่อุปทาน, กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์, ตัวเลขฟัซซี, Risk Management, Financial Operation, Supply Chain, AHP, Fuzzy Number

Abstract

การดำเนินงานด้านการเงินเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ จากการศึกษาห่วงโซ่อุปทานของการดำเนินงานด้านการเงินของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่ามีเหตุการณ์ที่เกิดจากความไม่แน่นอนจำนวนมากแล้วทำให้เกิดความเสี่ยงขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ระบบเกิดการชะงักหรือความล่าช้า ดังนั้นการวิเคราะห์ความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานจึงมีความสำคัญ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินงานด้านการเงินของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สำหรับการกำหนดแนวทางในการบริหารความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำการรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานด้านการเงินในอดีตร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเป็นข้อมูลในการระบุปัจจัยเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยง ในการประเมินความเสี่ยง ในการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ผู้วิจัยใช้วิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ และกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบฟัซซี่เพื่อกำหนดระดับคะแนนของแต่ละปัจจัย ทั้งกลุ่มปัจจัยหลักและกลุ่มปัจจัยรอง ซึ่งผลการวิเคราะห์ที่ได้สามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาความสำคัญของปัจจัย อันเป็นประโยชน์ต่อการจัดการความเสี่ยงของการควบคุมคุณภาพการดำเนินงานด้านการเงินของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 

Risk Management of Financial Operation Supply Chain in Prince of Songkla University

Thoedtida  Thipparat

Lecturer and Internal Audit Advisor, Internal Audit, Prince of Songkla University Hatyai

Financial operation is one of the key success factors in university’s goal achievement. It was found the financial operation supply chain in Prince of Songkla University was affected by uncertainties. The risk management of financial operation supply chain is required for the prevention of effects (e.g., operational delay).  The objectives of this research were to study current situation of financial operation risk management of Prince of Songkla University and to propose the guideline in developing the financial operation risk management. The data were collected by using the historical records of financial operation. The financial administers, staff, customers and stakeholders were also interviewed. The collected data were used in the risk identification and risk assessment. This study used Analytic Hierarchy Process (AHP) and Fuzzy Analytic Hierarchy Process (FAHP) to assess weight of risk factor. The results obtained can be employed to implement the risk management for improving the university’s financial operation performance. 


Downloads

How to Cite

ทิพย์รัตน์ เ. (2013). การบริหารความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานของการดำเนินงานด้านการเงินภายในของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 1(1), 39–51. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/42675

Issue

Section

Research Article