ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อ การซื้อผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ สุภาพันธ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • พัชรี อินธนู สาขาวิชานวัตกรรมเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • แสนวสันต์ ยอดคำ สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด , การซื้อ , ผลิตภัณฑ์, วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนตามทฤษฎีส่วนประสมทางการตลาดภายใต้แบบจำลองโลจิตหลายทางเลือก ดำเนินการสุ่มตัวอย่างกลุ่มลูกค้าผู้ซื้อผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งฯ โดยตารางทาโร ยามาเน่ และแบบเฉพาะเจาะจง ในร้านค้าจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตรและแหล่งผลิต จำนวน 408 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์เพิ่มโอกาสการซื้อปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปลูก ณ ระดับนัยสำคัญ 0.10 และ 0.05 ตามลำดับ ทำนองเดียวกับการแสดงรายละเอียดผลิตภัณฑ์และตรารับรองบนบรรจุภัณฑ์อย่างครบถ้วน และระยะทางในการเดินทางไปยังสถานที่จำหน่ายเพิ่มโอกาสการซื้อวัสดุปลูก ณ ระดับนัยสำคัญ 0.10 และ 0.05 ตามลำดับ ในส่วนของการลดโอกาสการซื้อสำหรับผลิตภัณฑ์พกพาได้สะดวกของปุ๋ยอินทรีย์ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.01 เช่นเดียวกับการลด แลก แจก แถม ทดลอง ผลิตภัณฑ์ และการให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานภาครัฐลดโอกาสการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ ณ ระดับนัยสำคัญ 0.10 และ 0.05 ตามลำดับ ขณะเดียวกันความดึงดูดของบรรจุภัณฑ์และความสะดวกในการเดินทางไปซื้อลดโอกาสการซื้อวัสดุปลูก ณ ระดับนัยสำคัญ 0.10 และ 0.05 ตามลำดับ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดเหล่านี้ควรถูกพิจารณาอย่างระมัดระวังและรอบคอบ เมื่อผู้ผลิตต้องดำเนินการ แสดงให้เห็นว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีอิทธิพลต่อโอกาสการซื้อแตกต่างกัน ดังนั้นปัจจัยที่เพิ่มโอกาสการซื้อควรรักษาไว้และปรับปรุงหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ลดโอกาสการซื้อเพื่อเพิ่มความได้เปรียบการแข่งขันทางการตลาด

References

กรมการปกครอง. (2562). สถิติจำนวนประชากร. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2563, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData.

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). สถานการณ์และการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศและเสียงของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท ฮีซ์ จำกัด.

กรมควบคุมมลพิษ. (2562). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง”. สืบค้น 17 มีนาคม 2563, จาก http://air4thai.pcd.go.th/webV2/download.php.

เกศรา จันทร์จรัสสุข. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการในห้างเทสโก้โลตัสของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จำเนียร บุญมาก และ จุรีภรณ์ อุทธิ. (2556). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวกล้องอินทรีย์ของสหกรณ์เกษตรอินทรีย์เชียงใหม่ จำกัด. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 1(2556), 38-47.

จิตราภรณ์ วันใจ. (2548). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจจัดจำหน่ายยาสมุนไพรไทยของผู้ประกอบการร้านขายยา จังหวัดเชียงราย. (การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และ SAS. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นัทธ์หทัย ศิริวิริยะสมบูรณ์ ธำรง เมฆโหรา และทิพวรรณ ลิมังกูร. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษของเกษตรกรในอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 30(2), 59-67.

นารีรัตน์ ฟักเฟื่องบุญ. (2554). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในศูนย์จำหน่าย เอส.บี. ดีไซด์สแควร์ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เยาวรัตน์ ศรีวรานันท์. (2554). ความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่นที่มีต่อเนื้อสุกรอินทรีย์. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 7(7), 1-24.

ศรีเวียง ทิพกานนท์, รัชนี เจริญ, วรรณทิชา เศวตบวร และวิ บูลย์ เหรียญสง่าวงศ์. (2561). การสร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจมูกข้าวสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดปราจีนบุรีโดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม. Kasetsart Journal of Social Sciences, 39(1), 674-683.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

สณัฐวีย์ น้อยโสภา. (2558). เกษตรอินทรีย์ โอกาสการส่งออกของเกษตรกรไทยในตลาดโลก. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 9(18), 83-91.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง, สรายุทธ กันหลง และ ดุษฎีวัฒน์ แก้วอินทร์. (2559). การวิจัยแบบผสมวิธี: กระบวนทัศน์การวิจัยในศตวรรษที่ 21. มหาสารคาม: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อภิชาติการพิมพ์.

สามารถ ใจเตี้ย. (2563). การใช้ประโยชน์วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกรในเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร, 38(2), 79-88.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2564. สืบค้น 20 ธันวาคม 2565, จาก https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2565/yearbook2564.pdf.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13. สืบค้น 10 ธันวาคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/Yearend/2021/plan13.pdf.

สุธีระ บุญญาพิทักษ์. (2564). ปัจจัยการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของเกษตรกรเพื่อลดการเผา กรณีศึกษา อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุรชัย จันทร์จรัส พงศธร ชัยสวัสดิ์ และ อโณทัย หาระสาร. (2559). อุปสงค์การกลับมาเที่ยวซ้ำและการเลือกที่พักของการท่องเที่ยวจังหวัดน่าน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปกร, 36(1), 25-48.

เสาวภา พิณเขียว และนภวรรณ ตันติเวชกุล. (2560). การสื่อสารความเป็นตราสินค้าระดับโลกของตราสินค้าระดับโลกและตราสินค้าท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 12(2), 93-109.

หนังสือพิมพ์เนชั่น. (2552). เพิ่มมูลค่าด้วยบรรจุภัณฑ์. สืบค้น 2 กรกฎาคม 2563, จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/packaging/2009/10/17/entry-1.

อารี วิบูลย์พงศ์. (2547). เศรษฐมิติประยุกต์สำหรับการตลาดเกษตร. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Akgün, A. E., Keskin, H., & Ayar, H. (2014). Standardization and Adaptation of International Marketing Mix Activities: A Case Study. Social and Behavioral Sciences, 150(2014), 609–618.

Huang, R. & Sarigöllü, E. (2012). How brand awareness relates to market outcome, brand equity, and the marketing mix. Journal of Business Research, 65(1), 92–99.

Kamsuwan, O. (2015). How Promotion at 7-Eleven Influences to Customer Purchasing. (Thesis of Master of Business Administration), Bangkok: Bangkok University.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2001). Principles of Marketing (9th Ed.). New Jersey: Prentice Hall Incorporate.

López-Ospina, H., Agudelo-Bernal, A., Reyes-Muñoz, L., Zambrano-Rey, G., & Pérez, J. (2021). Design of a location and transportation optimization model including quality of service using constrained multinomial logit. Applied Mathematical Modelling, 89(2021), 428–453.

Mahapatra, K. & Kant, S. (2005). Tropical deforestation: a multinomial logistic model and some country-specific policy prescriptions. Forest Policy and Economics, 7(2005), 1–24.

Michella, P., Lyncha, J., & Alabdalib, O. (1998). New perspectives on marketing mix programme standardization. International Business Review, 7(6), 617-634.

Obi, F.O., Ugwuishiwu, B.O., & Nwakaire. J. N. (2016). Agricultural wastes concept, generation, utilization and management. Nigerian Journal of Technology, 35(4), 957-964.

Sheau-Ting, L., Mohammed, A. H., & Weng-Wai, C. (2013). What is the optimum social marketing mix to market energy conservation behavior: An empirical study. Journal of Environmental Management, 131(2013), 196–205.

Torres, M., Hervas, C., & Garcia, C. (2009). Multinomial logistic regression and product unit neural network models: application of a new hybrid methodology for solving a classification problem in the livestock sector. Expert Systems with Application, 36(2009), 12225–12235.

Wasi, N. (2017). Economist and choice behavior forecast. Retrieved August 16, 2021, From https://www.pier.or.th/?abridged.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-23

How to Cite

สุภาพันธ์ พ. ., อินธนู พ. ., & ยอดคำ แ. . (2023). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อ การซื้อผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 11(1), 306–331. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/263829