การพัฒนาแบบทดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • ชวนพิศ ศรีวิชัย ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • ชนาภา ดวงไฟ ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • นริศา ไพเจริญ ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • สนิท ยืนศักดิ์ ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

คำสำคัญ:

แบบทดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ, นิสิตระดับปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยพะเยา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยาตามกรอบมาตรฐานการประเมินความสามารถทางภาษาจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ระดับ B 1 แบบทดสอบที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบเลือกตอบจำนวน 4 ชุด ชุดละ 60 ข้อ เนื้อหาแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ คำศัพท์ การอ่าน ไวยากรณ์และการเขียน และบทสนทนา ส่วนละ 15 ข้อ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 จำนวน 227 คน ที่ศึกษาอยู่ใน 18 คณะของมหาวิทยาลัยพะเยา ทีมผู้วิจัยหาคุณภาพแบบทดสอบโดยใช้ดัชนีความสอดคล้องให้ผู้เชี่ยวชาญสาขาภาษาอังกฤษและการวัดประเมินผลการศึกษาจำนวน 3 คน ให้ประเมินความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จากนั้นนำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างและนำไปวิเคราะห์ค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกโดยใช้เทคนิค 27 % ของจุงเตฟาน เกณฑ์การพิจารณาคือแบบทดสอบข้อที่มีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไปจะคัดเลือกไว้ จากนั้นวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร KR-20 

ผลการศึกษาพบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อของแบบทดสอบอยู่ระหว่าง 0.33 ถึง 1.00 และรวมรายชุดอยู่ระหว่าง 0.92 ถึง 0.93 การวิเคราะห์ค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกพบว่าแบบทดสอบชุดที่ 1 มีข้อที่ผ่านเกณฑ์ 49 ข้อ ชุดที่ 2 ผ่านเกณฑ์ 48 ข้อ ชุดที่ 3 ผ่านเกณฑ์ 49 ข้อ และชุดที่ 4 ผ่านเกณฑ์  50 ข้อ และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบแต่ละชุดอยู่ระหว่าง 0.79 ถึง 0.87 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

References

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. (2558). เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (Research Instrument). วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 12(58), 13-24.

เดชกุล มัทวานุกุล. (ม.ป.ป.) การวิจัยและพัฒนา (Research and Development). สืบค้น 15 มีนาคม 2564, จาก http://www.curriculum-instruction.com/index.php/journal.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559, 12 เมษายน). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง นโยบายการยก ระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา. กองยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา, จาก http://www.dqe.mhesi.go.th/front_home/Data%20Bhes_2559/04052559.pdf.

มหาวิทยาลัยพะเยา. (2562, 18 พฤษภาคม). ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง นโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ สำหรับนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาพ.ศ.2562. ระบบบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา, จากhttps://does.up.ac.th/public/storage/announce-detail/May2020/ulVEBIlyia1JOynUfeZt.pdf.

มหาวิทยาลัยพะเยา. (2562, 18 พฤษภาคม). ประกาศมหาวิทยาลัยพะเยา เรื่อง มาตรฐานการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี พ.ศ.2562. ระบบบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา, จากhttps://does.up.ac.th/public/storage/announce-detail/March2021/TyWUnNe1fZOgLyZvQFSf.pdf.

ชื่นจิตต์ อธิวรกุล และจิรดา วุฑฒยากร. (2561). การเทียบผลคะแนนแบบทดสอบสมิทธิภาพภาษาอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒกับกรอบมาตรฐานอ้างอิงสากลของยุโรป. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 12(2), 69-84.

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2547). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาคลังข้อสอบวิชา 2702303 การวัดและการประเมินผลทางการศึกษาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

________. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สุกัญญา ทองนาค, ศิริชัย กาญจนวาสี และสุพจน์ เกิดสุวรรณ์. (2558). การพัฒนาแบบทดสอบวัดสมรรถนะนักศึกษาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ตามมาตรฐานวิชาชีพครูที่มีการตรวจให้คะแนนแบบพหุวิภาค.วารสารวิจัย มสด, 9(1), 169-187.

สังวรณ์ งัดกระโทกและคณะ. (2561). คุณภาพข้อสอบระดับชาติ (โอเน็ต) และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการทดสอบ. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 31(2), 110-123.

สิรินธร สินจินดาวงศ์. (2547). วิธีการวิเคราะห์ข้อสอบ. วารสารศรีปทุมปริทัศน์, 4(1), 21-33.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

อลิสา วานิชดี, สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล และนรินทร์ทิพย์ ทองศร. (2551). การพัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษ โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในระบบการศึกษาทางไกล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Bachman, L. F. (1990). Fundamental considerations in Language Testing. Oxford: Oxford University Press.

Burns, N., Grove, S.K. & Sutherland, S. (2017). Burn and Grove’s the Practice of Nursing Research: Appraisal, synthesis, and generation of evidence (8th Edition). Missouri: Elsevier.

Council of Europe. (n.d.) Global scale - Table 1 (CEFR 3.3): Common Reference levels. Council of Europe, Form https://www.coe.int/en/web/common-european-framework-reference-languages/table-1-cefr-3.3-common-reference-levels-global-scale.

Lakhamja, R. & Tachom, K. (2022). Implementing Triangulation Teaching Techniques to Enhance English Speaking Skills for Thai Undergraduate Students. Journal of Humanities and Social Sciences University of Phayao, 10(2), 60-75.

Praimahaniyom, T. & Chairinkom, B. (2020). Developing GROUPS Model for Learning English Communication Skills: Kamphaeng Phet Rajabhat University, Maesot. Journal of Humanities and Social Sciences University of Phayao, 8(2), 16-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-15

How to Cite

ศรีวิชัย ช. ., ดวงไฟ ช. ., ไพเจริญ น. ., & ยืนศักดิ์ ส. (2023). การพัฒนาแบบทดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยพะเยา. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 11(2), 123–142. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/262725