พิธีกรรมในชุมชนเขตพื้นที่เมืองเก่า อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ : การศึกษาองค์ประกอบ และขั้นตอนของพิธีกรรม
คำสำคัญ:
เขตพื้นที่เมืองเก่า อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่, พิธีกรรม, องค์ประกอบ และขั้นตอนของพิธีกรรมบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และขั้นตอนของพิธีกรรม ในชุมชนเขตพื้นที่เมืองเก่า อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ผู้วิจัยใช้วิธีทางคติชนวิทยา โดยการลงพื้นที่เข้าร่วมสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมในพิธีกรรมของชุมชนเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 21 พิธีกรรม และได้ใช้จุดประสงค์ของพิธีกรรมจำแนกกลุ่มพิธีออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มพิธีทำบุญ 2) กลุ่มพิธีรำลึกในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 3) กลุ่มพิธีบวงสรวง 4) กลุ่มพิธีขับเคราะห์ 5) กลุ่มพิธีต่ออายุ และ 6) กลุ่มพิธีขอขมา ทั้ง 6 กลุ่มพิธีนี้มีองค์ประกอบ อันเป็นโครงสร้างของพิธีกรรม คือ 1) จุดประสงค์ของพิธี 2) วัน เวลาและสถานที่ 3) อุปกรณ์ 4) ผู้เข้าร่วมในพิธี และ5)ขั้นตอนของพิธีกรรม ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้มีหน้าที่ทำให้พิธีกรรมนั้น ๆ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี การประกอบพิธีกรรมของชาวแพร่จะอยู่ในพื้นฐานความเชื่อที่ผสมผสานระหว่างพุทธ พราหมณ์ และผีเข้าด้วยกัน ในขณะเดียวกันพิธีกรรมก็เป็นโครงสร้างของประเพณีวัฒนธรรมอันมีหน้าที่ทำให้สังคมชาวแพร่นั้นอยู่อย่างผาสุก
References
กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล. (2556). ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม : ความเปลี่ยนแปลงใน กระแสวัฒนธรรม. ไทยคดีศึกษา, (10), 3-15.
คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง. (2560). ภารตะ-สยาม? ผี พราหมณ์ พุทธ?. กรุงเทพฯ: มติชน.
นิยพรรณ ผลวัฒนะ. (2539). มานุษยวิทยาว่าด้วยระบบครอบครัว การแต่งงาน และเครือญาติ. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
พจนา เอกบุตร. (2556). ชุมชนลำปางหลวงกับการจัดการมรดกวัฒนธรรม กรณีศึกษางานประเพณียี่เป็งไหว้สาพระธาตุเจ้า อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. (วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มณี พยอมยงค์. (2536). วัฒนธรรมพื้นบ้าน: คติความเชื่อ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วุฒิชัย สายปัญญา, เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์ และวรัญญา ยิ่งยงศักดิ์. (2564). พิธีมหาพุทธาภิเษกของวัดศาลาไชย ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง:ขั้นตอนและสัญญะบางประการในพิธีกรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(2), 153-170.
ศิราพร ณ ถลาง. (2548). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. (2550). ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ 2550. แพร่: เมืองแพร่การพิมพ์.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยพะเยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.