ระบบการเรียนการสอนโดยใช้ Problem-based learning และ Team-based learning ในนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • อัญพร รุ่งรัตนไชย สาขาวิชาวิทยาศาสตรสุขภาพศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • รสสุคนธ์ คชรัตน์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อินทิพร โฆษิตานุฤทธิ์ คภาควิชาวิสัญญีวิทยา ณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กรองกาญจน์ ชูทิพย์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วรินทร บุญยิ่ง ภาควิชาบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, การเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการระบบการเรียนการสอนโดยใช้ Problem-based learning และ Team-based learning ในนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ 2) เสนอแนวทางพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้ Problem-based learning และ Team-based learning ในนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) ในนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามในการสนทนากลุ่มแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ความสอดคล้องของเนื้อหาและสรุปอุปมาน ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพและความต้องการระบบการเรียนการสอนโดยใช้ Problem-based learning และ Team-based learning ในนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า คือ จุดประสงค์การเรียนการสอน ลักษณะผู้เรียน ลักษณะผู้สอนและเนื้อหาที่สอน 2) กระบวนการ คือ การดำเนินการเรียนการสอน การเสริมสร้างทักษะ และ 3) ผลลัพธ์ คือ ความพึงพอใจของนิสิต ส่วนใหญ่พึงพอใจต่อการเรียนการสอน Problem-based learning และ Team-based learning เนื่องจากสามารถพัฒนาศักยภาพและทักษะในการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ของตนเอง  โดยแนวทางพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้ Problem-based learning และ Team-based learning ในนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คือ 1) ด้านนิสิต ส่งเสริมให้นิสิตกล้าแสดงความเห็น ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ตนเอง  2) ด้านอาจารย์ จัดอบรมพัฒนาอาจารย์เพื่อให้มีคุณสมบัติและมาตรฐานใกล้เคียงกัน 3) ด้านรายวิชา จัดทำคู่มือการเรียนการสอนเพื่อให้มีแนวปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน 4) ด้านหลักสูตร จัดการเรียนการสอน Active learning รูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้นิสิตสามารถพัฒนาทักษะได้รอบด้านมากขึ้น

References

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2562). หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562. พิษณุโลก.

งานส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุกส่วนส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2555). การเรียนรู้เชิงรุก วลัยลักษณ์. จุลสาร PBL วลัยลักษณ์, 5(2), 2-19.

เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์ (ม.ป.ป.). การเรียนรู้ด้วยกระบวนการทำงานเป็นทีม (Team-based Learning).

แพรลดา วงศ์ศิริเมธีกุล หทัยพร ใคร่ครวญ และวรลักษณ์ สัปจาตุระ. (2556). มุมมองของนักศึกษาแพทย์ต่อการเรียนการสอนในรูปแบบ Problem-based learning (PBL). ใน งานประชุมวิชาการแพทยศาสตรศึกษา ครั้งที่ 12 ประจำปี 2556 โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท.

ไพศาล สุวรรณน้อย (ม.ป.ป.). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL). เอกสารประกอบการบรรยายโครงการพัฒนาการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1-10.

มณีรัตน์ พันธุ์สวัสดิ์ ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ วรภรณ์ ทินวัง สิริอร พัวศิริ นฤพร พงษ์คุณากร ประภาศรี ทุ่งมีผล วินัยรอบคอบ. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการทำงานเป็นทีม และความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเอง ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 16(2), 92-102.

รัชยากร ลิ่มอภิชาต อักษร พูลนิติพร อัจฉริยา พลรัตน์ และปรนุช ชัยชูสอน. (2563). การคงอยู่ของความรู้เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพภายหลังการเรียนรู้แบบทีมของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6. วารสารวิสัญญีสาร, 46(3), 133-40.

วัลลี สัตยาศัย. (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning).วีรวัฒน์ ทางธรรม และอัมพร เที่ยงตรงดี. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานต่อความรู้และการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี.

สมพิศ ใยสุ่น ปรียารัตน์ รัตน์วิบูลย์ และชลดา จันทร์ขาว. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานต่อความรู้และการรับรู้ผลการเรียนรู้เรื่องการพยาบาลมารดาและครอบครัวในระยะตั้งครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(2), 73-87.

สิรีวัฒน์ อายุวัฒน์ (ม.ป.ป.). (2560). การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Learning):ความท้าทายของการศึกษาพยาบาลในการพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 31(1), 105-111.

สุธิดา สัมฤทธิ์. (2561). การเรียนแบบใช้ทีมเป็นฐานในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต. รามาธิบดีเวชสาร, 41(2), 135-142.

อานุภาพ เลขะกุล. (2554). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning). ฐานข้อมูลด้านแพทยศาสตรศึกษา, 1-5.

อินทิพร โฆษิตนุฤทธิ์. (2561). ขั้นตอนการสอน Team-Based Learning. เอกสารประกอบการบรรยาย. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ไอยฤทธิ์ ไทยพิสุทธิกุล. (2559). การอำนวยกระบวนการเรียนรู้แบบเป็นทีม (Facilitation in Team-Based Learning). เวชบันทึกศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 9(2), 75-83.

Parmelee DX, DeStephen D, Borges NJ. (2009). Medical students’ attitudes about team-based learning in a pre-clinical curriculum. Med Educ Online 2009.

Howard S. Barrows. (1996). Problem-Based Learning in Medicine and Beyond: A Brief Overview. Form https://doi.org/10.1002/tl.37219966804.

Siripen Tor-udom. (2016). Staff attitude toward Problem-Based Learning (PBL) at the Faculty of Medicine, Thammasat University: AMEE 2016; #3CC06 (135063).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-15

How to Cite

รุ่งรัตนไชย อ., คชรัตน์ ร., โฆษิตานุฤทธิ์ อ., ชูทิพย์ ก. ., & บุญยิ่ง ว. (2022). ระบบการเรียนการสอนโดยใช้ Problem-based learning และ Team-based learning ในนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 3 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 10(2), 76–101. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/260377