การออกแบบและพัฒนาบทเรียนบนเว็บ รายวิชา 1633603 การออกแบบและพัฒนาเว็บในงานสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • ศราวุฒิ ด้วงเบ้า สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี 76000

คำสำคัญ:

บทเรียนบนเว็บ, การพัฒนาเว็บไซต์, ทักษะศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาบทเรียนบนเว็บ 2) ศึกษาคุณภาพของบทเรียนบนเว็บ 3)  ประเมินทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนบนเว็บ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนบนเว็บ รายวิชา 1633603 การออกแบบและพัฒนาเว็บในงานสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา ด้านการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ และด้านการออกแบบสารสนเทศ รวมจำนวน 5 คน และ 2) นักศึกษาหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนบนเว็บ 2) แบบประเมินทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนบนเว็บ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนบนเว็บ รายวิชา 1633603 การออกแบบและพัฒนาเว็บในงานสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นมีความสมบูรณ์ร้อยละ 100 ประกอบด้วยเนื้อหาการเรียน 10 บทเรียน ในแต่ละบทเรียนมีเนื้อหา ภาพประกอบ แบบฝึกหัดท้ายบท พร้อมวิดีโอประกอบการเรียนทั้งภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 2) บทเรียนบนเว็บมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (= 4.28, S.D. = 0.08) 3) นักศึกษามีทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับพอใช้ (= 3.17, S.D. = 1.39) มีทักษะความรู้ความสามารถที่ดีอยู่ในระดับพอใช้ได้แก่ ความสามารถในการตีความ แปลความหมายของข้อมูลในตัวสื่อที่ต้องการนำเสนอ นำไปสู่การตัดสินคุณค่าความถูกต้อง เหมาะสม และคุณภาพของสารสนเทศที่ได้รับจากสื่อ และสามารถแสวงหาสื่อเพื่อใช้เป็นตัวอย่างประกอบการสร้างงานตนเองได้หลายประเภทและไม่ถูกจำกัดอยู่กับสื่อประเภทใดประเภทหนึ่ง 4) นักศึกษามีความพึงพอใจการใช้งานบทเรียนบนเว็บ รวมอยู่ในระดับมาก (= 4.07, S.D. = 1.07)

References

กลชาญ อนันตสมบูรณ์, สำราญ ไชยคำวัง, กฤษณะ สมควร, ประสิทธิ์ สารภี และชลิดา จันทจิรโกวิท. (2560). การพัฒนาการเรียนการสอนผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ (M-Learning) ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 5(1), 8-24.

กิตติพงษ์ รุทเทวิน, ก่อเกียรติ ขวัญสกุล และชวลิต แสงสิริทองไชย. (2562). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(5), 121-129.

ชุ่มจิตต์ แซ่ฉั่น และวรสิริ สิริวิพัธน์. (2559). ปัญหาการรู้สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), 71-109.

นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์ และอิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2561). การพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่จำเป็นในการจัดการเรียนรู้สำหรับครูในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มศว, 19(1), 244-260.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ และณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปวีณา มะแซะ. (2561). การพัฒนาแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (10 มิถุนายน 2564). ประกาศแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ภาคการศึกษาที่ 1/2564 (ฉบับที่ 1). ประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. จาก https://www.pbru.ac.th/pbru/news/23163/.

วันทนีย์ ศรีบุรินทร์ และจุไรรัตน์ อาจแก้ว. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 7(2), 1-23.

วัยวุฒิ บุญลอย, ธีรังกูร วรบํารุงกุล, มนตรี วิชัยวงษ์ และเริงวิชญ์ นิลโคตร. (2564).

โควิด-19 กับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสังคม. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(1), 44-57.

ศศิธร บัวทอง. (2560). การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(2), 1856-1867.

สร้อยระย้า เขตต์คีรี. (2557). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บ เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 10(1), 68-78.

สหรัฐ ทองยัง และจุฑามาศ ชัญญะพิเชฏฐ์. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง ระบบลงทะเบียนการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (รายงานวิจัยสถาบัน). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

อรพรรณ ทิมครองธรรม, ทวิกา ประภา และสมจิตรา เรืองศรี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารนาคบัตรปริทรรศน์, 9(1), 97-108.

โอภาส เกาไศยาภรณ์, วสันต์ อติศัพท์ และอนุชิต งามขจรวิวัฒน์. (2560). การออกแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่ง: รายการตรวจสอบ. ปัตตานี: สถานวิจัยนวัตกรรมทางการศึกษาและการเรียนการสอนที่เป็นเลิศ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

American Library Association. (2000). The Information Literacy Competency Standards for higher education. Chicago: The Association of College and Research Libraries.

Center for media literacy. (2008). Literacy for the 21st century: An overview and orientation guide to media literacy education (2nd ed.). California: Center for Media Literacy.

Gibson, M. R. (2002). A qualitative investigation for designing intermediate (grades 4-6) information literacy instruction: Integrating inquiry, mentoring, and on-line resources. (Thesis doctor of Education). University of Kentucky.

Kivunja, C. (2015). Unpacking the Information, Media, and Technology Skills Domain of the New Learning Paradigm. International Journal of Higher Education, 4(1), 166-181.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-11

ฉบับ

บท

บทความวิจัย