แรงจูงใจในการสอบบรรจุรับราชการของ Gen Z ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐญาณี จันทพลาบูรณ์ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
  • จันทิรา โพธิบุญเรือง ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000

คำสำคัญ:

สอบราชการ, เจเนอเรชันแซด, แรงจูงใจ, ตะวันออกเฉียงเหนือ

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการสอบบรรจุรับราชการของเจเนอเรชันแซดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มคนเจเนอเรชันแซดที่มีความประสงค์จะสอบบรรจุรับราชการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20 จังหวัด ใช้วิธีการสุ่มแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นโดยกำหนดวิธีการสุ่มแบบโควตา (Quota Sampling) กระจายไปยังสถานศึกษาต่าง ๆ รวม 500 ฉบับ และฝากลิงก์ในกลุ่มสอบราชการผ่านระบบออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเป็นแบบตรวจรายการ (Checklist) ส่วนที่ 2 แรงจูงใจในการสอบรับราชการ และ ส่วนที่ 3 การสอบบรรจุรับราชการ เป็นมาตรวัด 5 ระดับแบบ Likert Scale มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า รวบรวมข้อมูลที่นำไปวิเคราะห์ได้จำนวน 401 ชุด มีผลการวิจัย คือ เจเนอเรชันแซดมีแรงจูงใจในการสอบบรรจุรับราชการอยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\LARGE&space;\huge&space;\dpi{120}&space;\huge&space;\bar{x}= 2.51, S.D. = 1.21) มีความประสงค์สอบบรรจุรับราชการอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\LARGE&space;\huge&space;\dpi{120}&space;\huge&space;\bar{x}= 2.71, S.D. = 1.10) และแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการสอบบรรจุรับราชการ ได้แก่ แรงจูงใจด้านวัฒนธรรม (Beta = 0.26) แรงจูงใจส่วนบุคคล (Beta = 0.25) แรงจูงใจด้านจิตวิทยา (Beta = 0.24) และแรงจูงใจด้านสังคม (Beta = 0.16) มีข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย ได้แก่ การปลูกฝังจากครอบครัวควรเป็นการปลูกฝังให้บุตรหลานรับราชการเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมและประเทศต่อไป

References

กฎ ก.พ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์รับราชการต่อไป (2562, 20 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136, ตอนที่ 78 ก หน้า 13-14.

คุณิตา ไตรอังกูร. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าทำงานในองค์กรของกลุ่ม Generation Z. (สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

จีรนันท์ ไวยศรีแสง. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ทวีศักดิ์ ฉิมแก้ว และแก้วตา ผู้พัฒนพงศ์. (ม.ป.ป.). ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง. จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-2-1_1564637248.pdf.

ไทยรัฐออนไลน์. (2563, 6 กุมภาพันธ์). ถล่มทลาย! ยอดผู้สมัครสอบ ก.พ. 2563 ทะลุครึ่งล้าน. จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1766330.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เบญจธรรม ดิสกุล และ มณฑล สรไกรกิติกูล. (2561). เบื้องลึกของการเป็นข้าราชการ: แรงจูงใจในการบริการสาธารณะและสวัสดิการ. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 10(1), 55-71.

ประภาพร สุปัญญา. (2564). พัฒนาการของแนวคิดทุน: บริบทสังคมอีสาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(1), 1-16. จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/UDRUAJ/article/view/247100/168759.

ไปรยา อรรคนิตย์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งต่อ (Share) วีดีโอคอนเทนต์ออนไลน์ผ่านทางสื่อ Social Media (โซเชียลมีเดีย) ของวัยรุ่น Gen Z. (การค้นคว้าอิสระ นิเทศศาสตรมหาบัญฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พระครูปริยัตติกิตติธำรง. (2555). ค่านิยมเปลี่ยนแปลงเพราะสังคมเปลี่ยนไป. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 13-29.

พัชสิรี ชมภูคำ และ ณัฐธิดา จักรภีร์ศิริสุข. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและแรงจูงใจในการทำงาน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบคนเจเนอเรชัน Y และเจเนอเรชัน Z ในเขตกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(3), 1-18. จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CBSReview/article/download/243001/164849/.

เพ็ญนภา บุญหล้า. (2559). การตัดสินใจเลือกรับราชการของกลุ่ม Generation Z ในจังหวัดปราจีนบุรี. จาก http://www.advanced-mba.ru.ac.th/advanced-mba-2559/homeweb/7096-IS/Publish/2_2562/prachinburi1/no-6124100217-PCB1.pdf.

ศิริจรรยา เครือวิริยะพันธ์ และโอปอล์ สุวรรณเมฆ. (2563). รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นแซท. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 23-43. จาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/13145/10736.

ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และ ดิเรก ศรีสุโข. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2564). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน). จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage.

สุรพล พรมกุล. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อภิณัฏฐ์ ทรัพย์มาก และ เนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์ (ยาบุชิตะ). (2559). ปัจจัยจูงใจในการเลือกอาชีพรับราชการ ก่อนและหลักการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551: กรณีศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และการสื่อสาร, 11(1), 83-97.

The Matter. (2563, 4 กันยายน). สถิติคนสมัครสอบภาค ก. เป็นข้าราชการ เฉพาะปีนี้ พุ่งกว่า 6 แสนคน จนที่นั่งเต็ม เกินยอดที่รับสมัครได้เกือบแสนคน. จาก https://thematter.co/brief/brief-1599231601/122797.

Cochran, W.G. (1977). Sampling techniques (3rd Edition). New York: John Wiley & Sons.

Feldman, R.S. (2011). Understanding Psychology (10th Edition). New York: McGraw-Hill.

Schaffer, K. F. (1972). Vocational Interests and Emotional Maladjustment. (Unpublished Ph.D. Dissertation, The Ohio State University).

Stefanov, S., Terziev, V., & Banabakova, V. (2018). The Understanding of Security in the Postmodern Society. Proceedings of ADVED 2018 – 4th International Conference on Advances in Education and Social Sciences. Turkey: Istanbul.

Strauss, W. & Howe, N. (1991). Generations: The History of America’s Future. New York: William Morrow and Company, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-11

How to Cite

จันทพลาบูรณ์ ณ., & โพธิบุญเรือง จ. . (2023). แรงจูงใจในการสอบบรรจุรับราชการของ Gen Z ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 11(2), 20–40. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/259117