แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกขั้นพื้นฐานและ การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ทางพลศึกษา

ผู้แต่ง

  • สิทธิพงษ์ ปานนาค กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ กรุงเทพมหานคร 10250

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก , การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกขั้นพื้นฐาน, การจัดการเรียนรู้พลศึกษา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการสังเคราะห์แนวความคิดด้านการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) สู่กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกในลำดับขั้นพื้นฐาน (Basic Active Learning) ทางพลศึกษา โดยการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกขั้นพื้นฐาน สามารถแบ่งองค์ประกอบออกเป็น 6 ส่วนด้วยกัน ประกอบด้วย 1) การอธิบายเนื้อหาการเรียนรู้ที่มีความครอบคลุม และกระชับ 2) การแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม 3) การกำหนดประเด็นปัญหาหรือข้อคำถามในการเรียนรู้ 4) การศึกษาค้นคว้าหาความรู้และการมีส่วนร่วมในการลงมือปฏิบัติของผู้เรียน 5) การกระตุ้นและส่งเสริมความถนัดหรือความสามารถของผู้เรียนแต่ละบุคคล และ 6) การอภิปรายผลการเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน ทั้งนี้จากแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกขั้นพื้นฐานดังกล่าว ครูพลศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของชนิดกีฬา จำนวนผู้เรียน ระดับช่วงชั้นที่ทำการสอน ตลอดจนความพร้อมของสื่อ วัสดุ และอุปกรณ์ที่มีอยู่ รวมถึงต้องอาศัยเทคนิคและทักษะขั้นสูงในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ตามหลักการและลำดับขั้นตอนทางพลศึกษาที่ถูกต้องเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ เหล่านั้น มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. สืบค้น 18 ตุลาคม 2564, จาก http://academic.obec.go.th/images/document/1603180137_d_1.pdf.

นันทรัตน์ ศรีสวัสดิ์. (2560). แนวทางการพัฒนาการสอนกีฬาบาสเกตบอล ตามกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก. (วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรียานุช พรหมภาษิต. (2558). คู่มือการจัดการเรียนรู้. กำแพงเพชร: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2561). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัด เพื่อประเมินผลทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วารินทร์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 135-145.

ศักดิ์ศรี ปาณะกุล. (2556). หลักสูตรละการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Felder, R.M. (2015). Active Learning: An Introduction. Retrieved October 18, 2020, from https://www.researchgate.net/publication/242102584.pdf.

Romanow, D. (2020). Using Active Learning, Group Formation, and Discussion to Increase Student Learning: A Business Intelligence Skills Analysis. Journal of Information Systems Education, 31(3), 218-231.

Smith, A.D., et al. (2020). Implementing Physically Active Learning: Future Directions for Research, Policy, and Practice. Journal of Sports and Health Science, 9(1), 41-49.

University of Toronto. (2015). Active Learning and Adapting Teaching Techniques. Retrieved October 18, 2020, from https://tatp.utoronto.ca/wp-content/uploads/sites/2/Active-Learning-and-Adapting-Teaching-Techniques_TATP1.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-23

How to Cite

ปานนาค ส. (2023). แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกขั้นพื้นฐานและ การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ทางพลศึกษา. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 11(1), 27–45. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/257320