การวิจัยสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์การแสดง ชุดฉุยฉายมัจฉานุ

ผู้แต่ง

  • นราพล เดชพลกรัง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

มัจฉานุ, ฉุยฉาย, การสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการ 1)ศึกษาและวิเคราะห์ท่ารำแม่ท่าโขนลิง และท่าปลา 2 )เพื่อสร้างสรรค์งานนาฏยประดิษฐ์ ชุดฉุยฉายมัจฉานุ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการศึกษาเอกสาร และเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกต การสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ชนิดแบบมีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง จากกลุ่มประชากรนาฏศิลปิน สำนักการสังคีตกรมศิลปากร คัดเลือกแบบเจาะจงตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ปฏิบัติ วิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีการเคลื่อนไหว และทฤษฎีสุนทรียศาสตร์แล้วนำเสนอผลงานการแสดง

ผลการวิจัย พบว่าใช้ท่ารำหลักจากแม่ท่าโขนลิง ได้แก่ 1)แม่ท่าโขนลิงครึ่งแรกใช้ 3 ท่า ได้แก่ ท่าเหลี่ยมอัด  ท่ากระทืบกลับ  ท่าหย่อง 2)แม่ท่าโขนลิงครึ่งหลัง ใช้ 1 ท่า ได้แก่ ท่าขู่บนเข่า 3) ท่ารำเฉพาะ 2 ท่า ได้แก่ ท่าเกาเอว ท่าเกาคาง  4) ท่า4 ท่า5 ท่า7 5)ท่ารำตีบท และท่าปลาของนางสุพรรณมัจฉา การสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์การแสดงชุด ฉุยฉายมัจฉานุ ได้สร้างสรรค์บทประพันธ์ ตามคำร้องของเนื้อเพลงการแสดงชุด ฉุยฉายมัจฉานุ  ท่ารำแต่ละท่าของช่วงการแสดงให้มีความต่อเนื่องและกลมกลืนกับทำนองเพลงแต่ละช่วง ใช้ท่ารำทั้งหมด 52 ท่า ใช้เวลาในแสดง 12 นาที เครื่องแต่งกายยังคงยึดรูปแบบเดิม ตามแบบของกรมศิลปากร จะแต่งกายยืนเครื่องลิง ประกอบด้วยกำไลเท้า สนับเพลา ผ้านุ่ง ห้อยข้าง ผ้าปิดก้น เสื้อ(ปักขนเป็นลิง) รัดสะเอว ห้อยหน้า เข็มขัด กรองคอ ทับทรวง สังวาล ตาบทิศ พาหุรัด แหวนรอบ ปะวะหล่ำ ทองกร มีหางเป็นหางปลา มีอาวุธเป็นดอกบัว นาฏยประดิษฐ์การแสดงชุด ฉุยฉายมัจฉานุ สามารถแสดงได้ทุกโอกาส

References

กรมศิลปากร. (2538). จิตรกรรมฝาผนังเรื่อง รามเกียรติ์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ.

กรมศิลปากร. (2551). ทะเบียนข้อมูล : วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน เล่ม 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

บุญเตือน ศรีวรพจน์. (2557). จิตรกรรมรามเกียรติ์วัดสุทัศนเทพวราราม. กรุงเทพฯ: รุ่งรุ่ง ศิลป์การพิมพ์.

พัฒนี พร้อมสมบัติ และคณะ. (2545). รวมงานิพนธ์ของ นายอาคม สายาคม ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ กรมศิลปากร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.

พีรพงศ์ เสนไสย. (2546). นาฏยประดิษฐ์. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ไพโรจน์ ทองคำสุก. (2549). แนวคิด และวิธีแสดงโขนลิง. กรุงเทพฯ.

ไพโรจน์ ทองคำสุก. (2555). ลีลาท่าภาษาโขนลิง. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 37(2), 218-235.

โมฬี ศรีแสนยงค์. (2555). นาฏยประดิษฐ์ รำฉุยฉายมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

รจนา สุนทรานนท์. (2556). วิธีสอนและเทคนิคการสอนนาฏศิลป์ไทย. ปทุมธานี: ศูนย์ปฏิบัติการพิมพ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์. (2543). การละครไทย (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543). นาฏศิลป์ปริทรรศณ์. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ หสน.ห้องภาพสุธรรม.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์ (พิมพ์ครั้งที่3) . กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2549). นาฏศิลป์ รัชกาลที่ 9. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาย ณ นครพนม และคณะ. (2556). โขนอัจฉริยนาฏกรรมสยาม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรมศิลปากร.

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานส่งเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำหนังสือ “ครูกรี วรศริน ศิลปินแห่งชาติ”. (2555). ครูกรี วรศริน ศิลปินแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ปริ้นท์ติ้ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-08

How to Cite

เดชพลกรัง น. (2022). การวิจัยสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์การแสดง ชุดฉุยฉายมัจฉานุ. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 10(2), 225–236. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/255660