การบริหารจัดการโรงแรมบูติค ในเขตกรุงเทพมหานคร สาขาการจัดการการท่องเที่ยว วิทยาลัยการจัดการกรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ:
บริหารจัดการ, โรงแรมบูติค, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการโรงแรมบูติคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยได้ใช้ศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative method) ผ่านการศึกษาแนวคิดทฤษฎี สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยออกมาเป็นแบบสอบสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth interview) สำหรับในการเก็บข้อมูลจากเจ้าของธุรกิจโรงแรมบูติค หรือผู้บริหารระดับสูงของโรงแรมบูติค ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 แห่ง พบว่า ด้านแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงแรมบูติค ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้านการวางแผน (Planning) พบว่า โรงแรมบูติคส่วนใหญ่มีการจัดดำเนินการประชุมการประชุมเป็นรายวัน โดยมากจะนิยมใน 2 รูปแบบ คือ ช่วงเช้า หรือ ช่วงเย็น ด้านการแบ่งโครงสร้างการดำเนินงาน (Organization) พบว่า โรงแรมบูติคส่วนใหญ่มีการแบ่งโครงสร้างการดำเนินงานตามจำนวนห้องพักที่เปิดให้บริการ ซึ่งหากเป็นโรงแรมขนาดเล็กจะมีการแบ่งแผนกใหญ่ ออกเป็น 2-3 แผนก อาทิ แผนกบริการส่วนหน้า แผนกแม่บ้าน และแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับด้านการคัดเลือกพนักงาน (Staffing) พบว่า โรงแรมบูติคใช้การวัดทัศนคติในงานบริการ ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งงานและความสามารถทางภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ เช่น ภาษาจีน ในการสื่อสารเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ในด้านการประสานงาน (Coordinating) พบว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญสำคัญในการทำงานมากขึ้น ทำการส่งต่อข้อมูล ข่าวสารตลอดจนปัญหาต่าง ๆ และวิธีการแก้ไข การสั่งการ (Directing) พบว่า โรงแรมบูติคส่วนใหญ่มีการออกแบบการสั่งงานโดยตรงระหว่างเจ้าของและพนักงานซึ่งลดขั้นตอนการตัดสินใจได้ทันท่วงทีด้านการจัดทำรายงาน (Reporting) พบว่า โรงแรมบูติคส่วนใหญ่มีระบบการรายงานการปฏิบัติงานในแต่ละวันในรูปแบบของ Logbook ด้านการทำงบประมาณ (Budgeting) พบว่า โรงแรมบูติคส่วนใหญ่นั้นมีการควบคุมการทำงบประมานผ่านการใช้ระบบ PNL ในการดำเนินคำนวน ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายบัญชีเพื่อเปรียบเทียบงบประมาณกับยอดขาย กำไร แต่ละเดือน
References
จารุรัศมิ์ ธนูสิงห์. (2554). แนวทางการบริหารจัดการโรงแรมบูติค กรณีโรงแรมระรินจินดา เวลเนส สปา รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
พิมลจรรย์ นามวัฒน์. (2544). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลบริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด มหาชน.
ดํารง วัฒนา. (2545). การจัดการเชิงกลยุทธโดยอาศัยลิขิตสมดุล. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 42(2), 81-106.
ราณี อิสิชัยกุล. (2551). การจัดการธุรกิจบริการและการเงิน. เอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพในธุรกิจโรงแรม. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมคิด บางโม. (2551). การจัดการองค์การ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สุจินต์ สุขะพงษ์. (2552). แนวทางการจัดการตลาดบริการสำหรับโรงแรมบูติคในเขตกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษากลุ่มหนุ่มเจ้าสำอาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สุภางค์ จันทวานิช. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิรมย์ พรหมจรรยา และคณะ. (2547). โครงการศึกษาพัฒนาศักยภาพอาหารและเครื่องดื่มท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยว จังหวัดกระบี่ พังงาและภูเก็ต (รายงานการวิจัย). การพัฒนาและการจัดการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Gulick, Luther and Lyndall Urwick. (1973). The Science of Administration. New York: Columbia University.
Henri Fayol. (1916). General and industrial management. London: Sir Issac Pitman & Sons Ltd.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยพะเยา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.